sustainable_development_goals_04

......

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : บทบาทของโปรตีนตัวขนส่งกรดอะมิโนระบบแอลในเซลล์มะเร็งของอัณฑะ (testicular germ cell tumor หรือ TGCT) มะเร็งที่เกิดจาก germ cell เป็นมะเร็งที่พบในผู้ป่วยอายุน้อย พบบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งของอัณฑะ (testicular germ cell tumor หรือ TGCT) ถึงแม้ว่ามะเร็งชนิดนี้จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด cisplatin ได้ดี อย่างไรก็ตามผู้ป่วยประมาณ 10-20% มีอาการกำเริบหลังจากการรักษา ซึ่งจะไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด มีการพยากรณ์ของโรคที่ไม่ดี ที่สำคัญยังพบว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งของอัณฑะจะดื้อต่อยาเคมีบำบัด ดังนั้นการหาเป้าหมายใหม่สำหรับการรักษามะเร็งของอัณฑะ โดยมุ่งเป้าไปที่เซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็งจึงมีความจำเป็น การศึกษาพบว่า โปรตีนตัวขนส่งกรดอะมิโนระบบแอล 1 (LAT1) และ 4F2 heavy chain (4F2hc) หรือ CD98 มีระดับการแสดงออกที่สูงในเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งของอัณฑะ (NTERA2) เมื่อยับยั้งการทำงานของโปรตีนตัวขนส่งกรดอะมิโนนี้โดยการบ่มเซลล์ NTERA2 ด้วย BCH ซึ่งเป็นตัวยับยั้งการทำงานของโปรตีนตัวขนส่งกรดอะมิโนระบบแอล พบว่า การขนส่งกรดอะมิโน leucine เข้าเซลล์ลดลง ส่งผลลดการทำงานของกลไก mTOR ซึ่งจำเป็นต่อการโตและแบ่งตัวของเซลล์ สอดคล้องกับผลของ BCH ลดการรอดชีวิต (viability) และการแบ่งตัว (proliferation) ของเซลล์ NTERA2 โดยที่ BCH ไม่มีผลต่อคุณสมบัติของการเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ ที่สำคัญพบว่า BCH เพิ่มความไวของเซลล์ NTERA2 ต่อการตอบสนองด้วยยาเคมีบำบัด cisplatin จึงสรุปได้ว่า โปรตีนตัวขนส่งกรดอะมิโนระบบแอลทำหน้าที่ขนส่งกรดอะมิโนเข้าสู่เซลล์ ต้นกำเนิดของมะเร็งของอัณฑะและมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์ การยับยั้งการทำงานของโปรตีนนี้มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์และตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด ดังนั้นโปรตีนตัวขนส่งกรดอะมิโนระบบแอลมีศักยภาพพัฒนาไปเป็นเป้าหมายของการรักษา testicular germ cell tumor หรือ TGCT โดยเฉพาะชนิดที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด รายละเอียดเพิ่มเติม : Andrology. 2020;8(6):1844-58.

Assoc. Prof. Dr. Arthit Chairoungdua

…….

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาไมโครอาร์เอ็นเอที่บรรจุอยู่ภายในเวสิเคิลที่สกัดแยกจากเลือดเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับประเมินการตอบสนองต่อยา Osimertinib ในคนไข้มะเร็งปอด มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยใน 3 อันดับแรกทั่วโลกและในประเทศไทย สาเหตุสำคัญของมะเร็งปอด คือ การกลายพันธุ์ของ epidermal growth factor receptor (EGFR) ซึ่งคนไข้จะได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม EGFR-tyrosine kinase inhibitors (TKIs) ในระยะแรกคนไข้จะตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แต่คนไข้เกือบทั้งหมดจะดื้อต่อการรักษาภายใน 9-15 เดือน เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์ของ EGFR เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ชนิด T790M คนไข้จะได้รับการรักษาด้วยยาตัวใหม่ คือ Osimertinib คนไข้เกือบทุกคนจะตอบสนองต่อยาดีในระยะแรก แต่จะดื้อต่อยาหลังการรักษาภายใน 6-17 เดือน และจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ช่วยตรวจวัดการตอบสนองต่อยา Osimertinib จึงมีความสำคัญสำหรับการวางแผนการรักษาของแพทย์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการแสดงออกและพัฒนาไมโครอาร์เอ็นเอ ที่บรรจุอยู่ในเวสิเคิล ที่สกัดได้จากเลือดของคนไข้มะเร็งปอดไปเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับช่วยประเมินการดื้อต่อการรักษาด้วยยา Osimertinib พบว่า การแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 10 ชนิด ในคนไข้ที่ตอบสนองต่อ Osimertinib แตกต่างจากคนไข้ที่ดื้อต่อยา Osimertinib การแสดงออกที่สูงขึ้นของไมโครอาร์เอ็นเอ 10 ชนิด มีแนวโน้มสัมพันธ์กับระยะเวลาที่นานขึ้นต่อการเกิดการดื้อต่อยา Osimertinib และอัตราการรอดชีวิตที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 4 จาก 10 ชนิด สามารถแยกคนไข้มะเร็งปอดที่ดื้อต่อยา Osimertinib ออกจากคนไข้ที่ตอบสนองต่อยา แสดงว่าการวัดระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอทั้ง 4 ชนิดนี้มีศักยภาพพัฒนาต่อสำหรับใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ช่วยประเมินการตอบสนองต่อยา Osimertinib ของคนไข้มะเร็งปอดได้ในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติม : Cancer Biomark. 2021;31(3):281-94.

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : บทบาทของ MALAT1 ในการตอบสนองของเซลล์มะเร็งศีรษะและลำคอต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายรังสี มะเร็งศีรษะและลำคอ คือ เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ในเยื่อบุผิวของทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร สามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งโพรงหลังจมูกและมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งโพรงหลังจมูก ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งโพรงหลังจมูกสูงกว่ามะเร็งโพรงหลังจมูกและผู้ป่วยจำนวน 2 ใน 3 ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะท้ายซึ่งมีภาวะดื้อต่อรังสีรักษาและยาเคมีบำบัด ส่งผลให้การพยากรณ์ของโรคไม่ดี ปัจจุบันมีรายงานว่า long non-coding RNA มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดื้อต่อรังสีรักษาและยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึงบทบาทของ long non-coding RNA ต่อความไวในการตอบสนองต่อการรักษาด้วยการฉายรังสีและยาเคมีบำบัดของมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งโพรงหลังจมูก การศึกษานี้พบการแสดงออกของ long non-coding RNA ซื่อ MALAT1 สูงในเซลล์มะเร็งศีรษะและลำคอชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งโพรงหลังจมูกเทียบกับเซลล์ปกติ เมื่อลดการแสดงออกของ MALAT1 เซลล์มะเร็งศีรษะและลำคอตอบสนองต่อการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด cisplatin ดีขึ้น การศึกษากลไกที่เกี่ยวข้องพบว่า เมื่อลดการแสดงออกของ MALAT1 ทำให้เซลล์มะเร็งหยุดการแบ่งตัวในวัฏจักรเซลล์ที่ระยะ G2/M เหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายต่อสายดีเอ็นเอและเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบอะพอพโทซีส (apoptosis) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด cisplatin ข้อมูลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการยับยั้งการแสดงออกของ MALAT1 เพิ่มความไวในการตอบสนองต่อการฉายรังสีและยาเคมีบำบัดของเซลล์มะเร็งศีรษะและลำคอชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งโพรงหลังจมูก งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้ MALAT1 เป็นเป้าหมายสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษามะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถใช้การแสดงออกของ MALAT1 เป็นตัวบ่งชี้สำหรับการพยากรณ์การตอบสนองต่อการรักษาและความรุนแรงของโรค รายละเอียดเพิ่มเติม : Anticancer Res. 2020;40(5):2645-55.

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาไมโครอาร์เอ็นเอที่บรรจุอยู่ภายในเวสิเคิลที่สกัดได้จากเลือดเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับการวินิจฉัยและพยากรณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งศีรษะและลำคอเป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยเป็นมะเร็งที่พบบ่อยใน 10 อันดับแรก ปัจจุบันยังขาดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับตรวจวินิจฉัย (diagnostic) และพยากรณ์ความรุนแรง (prognostic) ของโรค คนไข้ส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยเมื่อระยะของโรครุนแรง ทำให้อัตราการรอดชีวิต 5 ปี อยู่ที่ 40-50% ที่สำคัญยังพบว่า ครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่ได้รับการรักษาแล้วจะมีการกลับมาเป็นซ้ำของโรค (recurrent) ซึ่งจะมีอาการรุนแรง คนไข้มีค่าเฉลี่ยการรอดชีวิตแค่ 1 ปี ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับตรวจวินิจฉัย และ/หรือพยากรณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ผู้วิจัยสกัดเวสิเคิลจากเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอและวัดการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอที่บรรจุอยู่ภายใน พบว่ามีการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็น 10 ชนิดที่แตกต่างจากคนปกติ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอกับลักษณะทางคลินิกของคนไข้ พบว่าเฉพาะการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 491 (miRNA-491-5p) สัมพันธ์กับระยะของโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีศักยภาพใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับตรวจวินิจฉัย ซึ่งสามารถแยกคนไข้ออกจากคนปกติได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การเปลี่ยนแปลงระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 491 ระหว่างก่อนและหลังการรักษา สัมพันธ์กับ overall survival (OS) และ disease free survival (DFS) ของคนไข้ ดังนั้นการประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 491 สามารถใช้พยากรณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอได้ โดยใช้ร่วมกับการการตรวจอย่างอื่นที่มีการใช้อยู่แล้วในทางคลินิก เพื่อให้การวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจจากตัวอย่างเลือดของคนไข้ หรือที่เรียกว่า liquid biopsy สามารถทำได้บ่อย มีภาวะแทรกซ้อนต่ำเมื่อเทียบกับการตรวจจากชิ้นเนื้อ (tissue biopsy) และยังลดปัญหาเกี่ยวกับความหลากหลายที่เกิดขึ้นในแต่ละเซลล์ของเนื้อเยื่อมะเร็ง (tumor heterogeneity) รายละเอียดเพิ่มเติม : https://doi.org/10.1111/cas.15067

5. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีของสาร altholactone และสารดัดแปลงโครงสร้างผ่านการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Topoisomerase IIa การแสดงออกของเอนไซม์ Topoisomerase IIa (Topo IIa) จะเพิ่มขึ้นในเซลล์มะเร็งเมื่อเทียบกับเซลล์ปกติ ทำให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวที่เร็วขึ้น ดังนั้นเอนไซม์ Topo IIa จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการค้นหายาต้านมะเร็ง งานวิจัยนี้พบว่าสารสกัดบริสุทธิ์ altholactone จากใบและกิ่งของ Polyalthia crassa R.Parker (Annonaceae) สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Topo IIa และก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี สารดัดแปลงโครงสร้างด้วยการเติมกลุ่ม halogenated benzoate จะมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีได้ดีขึ้น การศึกษาระดับกลไกการออกฤทธิ์พบว่า เมื่อบ่มเซลล์มะเร็งด้วยสารดังกล่าวจะพบการแสดงออกของเอนไซม์ Topo IIa ลดลงและเกิดความเสียหายต่อสายดีเอ็นเอ (DNA damage) เพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค computational docking พบว่า สาร altholactone และ สารดัดแปลงโครงสร้างสามารถจับกับเอนไซม์ Topo IIa บริเวณ hydrophobic pocket ของ ATPase domain การจับบริเวณดังกล่าวจะทำให้เกิด DNA double-strand breaks (DSBs) ตามมาด้วยการเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายด้วยกระบวนการ apoptosis ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ดังกล่าวเรียกว่า Topo II poisoning จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดบริสุทธิ์ altholactone และสารดัดแปลงโครงสร้างด้วยการเติมกลุ่ม halogenated benzoate มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นยาต้านมะเร็งได้ รายละเอียดเพิ่มเติม : https://doi.org/10.1016/j.biopha.2020.110149

6. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : สารจากสมุนไพรไคร้หางนาคสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis และยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย การดื้อยาเคมีบำบัดและการเกิดผลข้างเคียงของการใช้ยายังเป็นปัญหาสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในปัจจุบัน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นหาสารที่สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและศึกษากลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาพบว่าสารสกัดบริสุทธิ์ Cleistanthin A (CA) ซึ่งเป็นสารสำคัญจากสมุนไพรไคร้หางนาค ที่ความเข้มข้นต่ำสามารถลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 2 ชนิด การศึกษากลไกการออกฤทธิ์พบว่า CA ลดการทำงานของ V-ATPases ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมสมดุลกรด-ด่างภายในเซลล์ ส่งผลลดการทำงานของโปรตีน FAK ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญต่อการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังพบว่า CA ที่ความเข้มข้นสูงลดการแสดงออกและการทำงานของกลไกสัญญาณ β-catenin ทำให้เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักตายแบบ apoptosis จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสาร Cleistanthin A (CA) มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นยาต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติม : https://doi.org/10.1016/j.ejphar.2020.173604

7. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งของสารดัดแปลงโครงสร้างแอนโดรกราโฟไลด์จากพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร สารแอนโดรกราโฟไลด์เป็นสารกลุ่มไดเทอร์ปีนแลคโตนสกัดได้จากฟ้าทะลายโจร มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็งหลายชนิด ที่ผ่านมาทางกลุ่มวิจัยได้พยายามพัฒนาสารกึ่งสังเคราะห์จากสารเริ่มต้นแอนโดรกราโฟไลด์เพื่อให้ได้สารใหม่ที่มีฤทธิ์ดีเด่นในการฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าสารตั้งต้น อันจะนำไปสู่การนำไปใช้ในระดับคลินิก จากการทดสอบฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในเซลล์มะเร็ง 9 ชนิด ที่พบบ่อยทั่วโลกและประเทศไทย พบว่าสารดัดแปลงโครงสร้างแอนโดรกราโฟไลด์ทุกตัวมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง ที่สำคัญมีสารบางตัวมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าสารตั้งต้นและมีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งบางชนิด สารกลุ่มนี้มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นยาฆ่ามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูงได้ นอกจากนี้จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในการทดลองครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทางในการดัดแปลงโครงสร้างสารอื่น ๆ เพื่อให้มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม : https://doi.org/10.1016/j.bmcl.2020.127263

8. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในหนูของเปปไทด์ที่พบในเลือดของจระเข้และค้นหาโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านมะเร็ง มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การดื้อยาเคมีบำบัดและการเกิดผลข้างเคียงของการใช้ยาเป็นปัญหาสำคัญในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีการพยากรณ์ของโรคที่ไม่ดี มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ที่ผ่านมากลุ่มวิจัยได้ค้นพบเปปไทด์สายสั้นจากเลือดจระเข้ RT2 ที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายแบบอะพอพโทซิส ในงานวิจัยนี้พบว่า RT2 ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในสัตว์ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่สำคัญไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการแสดงออกของโปรตีนที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโต ต้านการบุกรุกหรือแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหลายตัวเพิ่มขึ้นในก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในหนูที่ได้รับ RT2 จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเปปไทด์สายสั้นจากเลือดจระเข้ RT2 มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นยาต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักหรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้ในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติม : https://doi.org/10.1016/j.ejphar.2022.174753

9. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : The Bioactive Peptide SL-13R Expands Human Umbilical Cord Blood Hematopoietic Stem and Progenitor Cells In Vitro : Takenobu Nii, Katsuhiro Konno, Masaki Matsumoto, Kanit Bhukhai, Suparerk Borwornpinyo, Kazuhiro Sakai, Suradej Hongeng and Daisuke Sugiyama. Hematopoietic stem and progenitor cell (HSPC) transplantation is a curative treatment of hematological disorders that has been utilized for several decades. Although umbilical cord blood (UCB) is a promising source of HSPCs, the low dose of HSPCs in these preparations limits their use, prompting need for ex vivo HSPC expansion. To establish a more efficient method to expand UCB HSPCs, we developed the bioactive peptide named SL-13R and cultured UCB HSPCs (CD34+ cells) with SL-13R in animal component-free medium containing a cytokine cocktail. Following 9 days of culture with SL-13R, the numbers of total cells, CD34+, CD38− cells, and hematopoietic stem cell (HSC)-enriched cells were significantly increased relative to control. Transplantation of cells cultured with SL-13R into immunodeficient NOD/Shi-scid/IL-2Rγ knockout mice confirmed that they possess long-term reconstitution and self-renewal ability. AHNAK, ANXA2, and PLEC all interact with SL-13R. Knockdown of these genes in UCB CD34+ cells resulted in reduced numbers of hematopoietic colonies relative to SL-13R-treated and non-knockdown controls. In summary, we have identified a novel bioactive peptide SL-13R promoting expansion of UCB CD34+ cells with long-term reconstitution and self-renewal ability, suggesting its clinical use in the future. Source: https://doi.org/10.3390/molecules26071995

10. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Ex vivo expansion and functional activity preservation of adult hematopoietic stem cells by a diarylheptanoid from Curcuma comosa : Nopmullee Tanhuad, Umnuaychoke Thongsa-ad, Nareerat Sutjarit, Ploychompoo Yoosabai, Wittaya Panvongsa, Sirapope Wongniam, Apichart Suksamrarn, Pawinee Piyachaturawat, Usanarat Anurathapan, Suparerk Borwornpinyo, Arthit Chairoungdua, Suradej Hongeng, Kanit Bhukhai. Hematopoietic stem cells (HSCs) have shown therapeutic efficacy for transplantation in various hematological disorders. However, a large quantity of HSCs is continuously required. Therefore, strategies to increase HSC numbers and preserve HSC functions through ex vivo culture are critically needed. We found that a diarylheptanoid isolated from Curcuma comosa (ASPP 049) significantly increased numbers of primitive HSCs and also improved their functional properties, including self-renewal and multilineage differentiation. Transplantation of cultured HSCs into immunodeficient mice demonstrated the long-term reconstitution and differentiation ability of ASPP 049-expanded cells. RNA sequencing and KEGG analysis revealed that Hippo signaling was the most likely pathway involved in the effects of ASPP 049. Our findings provide a rationale for the use of ASPP 049 to grow HSCs prior to hematological disease treatment. Source: https://doi.org/10.1016/j.biopha.2021.112102

11. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Enhancing Erythropoiesis by a Phytoestrogen Diarylheptanoid from Curcuma comosa : Kanit Bhukhai, Guillemette Fouquet, Yutthana Rittavee, Nopmullee Tanhuad, Chaiyaporn Lakmuang, Suparerk Borwornpinyo, Usanarat Anurathapan, Apichart Suksamrarn, Pawinee Piyachaturawat, Arthit Chairoungdua, Olivier Hermine and Suradej Hongeng. Anemia, a condition involving insufficient red blood cell numbers, is frequently used erythropoietin (Epo) for the treatment, however, it is ineffective in some cases. Thus, identifying an effective drug to improve erythroid cell development is urgently required. The present study investigated the potential of a diarylheptanoid isolated from Curcuma comosa for the treatment of anemia. We found that recovery from anemia symptoms was enhanced by C. comosa extract. Indeed, the major compound from C. comosa, the diarylheptanoid ASPP 049, enhanced suboptimal Epo levels to improve murine- and human- erythropoiesis through the activation of Epo-Epo receptor (EpoR) complex, which further induces phosphorylation of the three signaling pathways involved in EpoR-mediated erythropoiesis: STAT5, MAPK/ERK, and PI3K/AKT. Our finding could be applied as an innovative therapeutic strategy in combination Epo for treatment of patients with anemia. Source: https://doi.org/10.3390/biomedicines10061427

12. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Erythrocytosis associated with IgA nephropathy : Camille Cohen, Severine Coulon, Kanit Bhukhai, Antoine Neuraz, Michael Dussiot, Guillemette Fouquet, Marie-Benedicte Le Stang, Martin Flamant, Francois Vrtovsnik, Aurelie Hummel, Bertrand Knebelmann, Laurent Mesnard, Eric Rondeau, Thiago T. Maciel, Fabrizia Favale, Nicole Casadevall, Thao Nguyen-Khoa, Stephane Moutereau, Christophe Legendre, Marc Benhamou, Renato C. Monteiro, Olivier Hermine, Khalil El Karoui, Ivan C. Moura. Erythrocytosis is a hematological disorder usually related to hematopoietic stem cell somatic mutations. However, unexplained erythrocytosis remains frequent. In this study, we evaluated the involvement of IgA1, a regulator of erythropoiesis also implicated in IgA nephropathy (IgAN) pathophysiology, in unexplained polycythemia/erythrocytosis (PE) of IgAN patients. We retrospectively identified 6 patients with IgAN and unexplained PE. In large CKD cohorts, IgAN was associated with PE in 3.5% of patients (p<0.001 compared to other nephropathies). IgAN was an independent factor associated with higher hemoglobin levels (13.1g/dL vs 12.2 g/dL, p=0.01). During post-transplant anemia, anemia recovery was faster in IgAN patients. Elevated polymeric/monomeric IgA1 ratio as well as high Gd-IgA1 rate were observed in circulating IgA1 of the 6 IgAN-PE patients as compared with control or IgAN patients without PE. IgA1 from these patients increased the sensitivity of erythroid progenitors to Epo. In mice, we also observed an elevation of hematocrit in alpha1 knock-in mice compared to wild type controls. These data identify a new etiology of erythrocytosis and demonstrate the role of pIgA1 in human erythropoiesis. This syndrome of IgA-related erythrocytosis should be investigated in case of unexplained erythrocytosis and renal disease. Source: https://doi.org/10.1016/j.ebiom.2021.103785

13. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Gambogic Acid Inhibits Wnt/β-catenin Signaling and Induces ER Stress-Mediated Apoptosis in Human Cholangiocarcinoma : Kanoknetr Suksen, Keatdamrong Janpipatkul, Somrudee Reabroi, Natthinee Anantachoke, Vichai Reutrakul, Arthit Chairoungdua, Natthakan Thongon, Kanit Bhukhai. Gambogic acid (GA) has been reported to induce apoptosis in cholangiocarcinoma (CCA) cell lines. However, the molecular mechanisms underlying its anti-cancer activity remain poorly understood. This study was aimed to investigate GA’s effect on human CCA cell lines, KKU-M213 and HuCCA-1, and its associated mechanisms on Wnt/β-catenin signaling pathway. We found that GA exhibited potent cytotoxicity in CCA cells which was associated with significantly inhibited cell proliferation, promoted G1 arrest, and activated caspase 3 mediated-apoptosis. GA attenuated β-catenin transcriptional levels, decreased β-catenin protein, and suppressed the expression of c-Myc, a downstream target gene of Wnt/β-catenin signaling. GA activated genes involved in ER stress mechanism in KKU-M213 and enhanced CCA’s sensitivity to gemcitabine. Our findings reveal that the molecular mechanism underpinning anti-cancer effect of GA is partially mediated through the inhibition of Wnt/β-catenin signaling pathway and induction of ER stress induced-apoptosis. GA may serve as a promising therapeutic modality for amelioration of gemcitabine-induced toxicity in CCA. Source: https://doi.org/10.31557/APJCP.2021.22.6.1913

14. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Iron-loaded transferrin potentiates erythropoietin effects on erythroblast proliferation and survival: a novel role through transferrin receptors : Guillemette Fouquet, Umnuaychoke Thongsa-ad, Carine Lefevre, Alice Rousseau, Nopmullee Tanhuad, Ekkaphot Khongkla, Witchuda Saengsawang, Usanarat Anurathapan, Suradej Hongeng, Thiago T. Maciel, Olivier Hermine, and Kanit Bhukhai. Red blood cell production, or erythropoiesis, is a proliferative process that requires tight regulation. Erythropoietin (Epo) is a glycoprotein cytokine that plays a major role in erythropoiesis by triggering erythroid progenitors/precursors of varying sensitivity. The concentration of Epo in bone marrow is hypothesized to be suboptimal, and the survival of erythroid cells has been suggested to depend on Epo sensitivity. However, the key factors that control Epo sensitivity remain unknown. Two types of transferrin receptors (TfRs), TfR1 and TfR2, are known to play a role in iron uptake in erythroid cells. Here, we hypothesized that TfRs may additionally modulate Epo sensitivity during erythropoiesis by modulating Epo receptor (EpoR) signaling. Using an Epo-sensitive UT-7 (UT7/Epo) erythroid cell and human erythroid progenitor cell models, we report that iron-loaded transferrin, that is, holo-transferrin (holo-Tf), synergizes with suboptimal Epo levels to improve erythroid cell survival, proliferation, and differentiation. This is accomplished via the major signaling pathways of erythropoiesis, which include signal transducer and activator of transcription 5 (STAT5), mitogen-activated protein kinase/extracellular signal-regulated kinase (MAPK/ERK), and phosphoinositide-3-kinase (PI3K)/AKT. Furthermore, we found that this cooperation is improved by, but does not require, the internalization of TfR1. Interestingly, we observed that loss of TfR2 stabilizes EpoR levels and abolishes the beneficial effects of holo-Tf. Overall, these data reveal novel signaling properties of TfRs, which involve the regulation of erythropoiesis through EpoR signaling. Source: https://doi.org/10.1016/j.exphem.2021.05.005

15. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : A generation of human induced pluripotent stem cell line (MUi031-A) from a type-3 Gaucher disease patient carrying homozygous mutation on GBA1 gene : Tanapat Pornsukjantra, Kitsada Kangboonruang, Pirut Tong-Ngam, Thipwimol Tim-Aroon, Duangrurdee Wattanasirichaigoon, Usanarat Anurathapan, Suradej Hongeng, Alisa Tubsuwan, Kanit Bhukhai, Nithi Asavapanumas. Gaucher disease (GD) is one of the most prevalent lysosomal storage diseases caused by mutation of glucocerebrosidase (GBA1) gene. GD patients develop symptoms in various organs of the body; however, the underlying mechanisms causing pathology are still elusive. Thus, a suitable disease model is important in order to facilitate subsequent investigations. Here, we established MUi031-A human induced pluripotent stem cell (hiPSC) line from CD34+ hematopoietic stem cells of a female type-3 GD patient with homozygous c.1448 T >C (L444P) mutation. The cells exhibited embryonic stem cell-like characteristics and expressed pluripotency markers with capability to differentiate into three germ layers. Source: https://doi.org/10.1016/j.scr.2022.102698

16. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Potential Application of Gambogic Acid for Retarding Renal Cyst Progression in Polycystic Kidney Disease : Nutchanard Khunpatee, Kanit Bhukhai, Varanuj Chatsudthipong and Chaowalit Yuajit. Abnormal cell proliferation and accumulation of fluid-filled cysts along the nephrons in polycystic kidney disease (PKD) could lead to a decline in renal function and eventual end-stage renal disease (ESRD). Gambogic acid (GA), a xanthone compound extracted from the brownish resin of the Garcinia hanburyi tree, exhibits various pharmacological properties, including anti-inflammation, antioxidant, anti-proliferation, and anti-cancer activity. However, its effect on inhibiting cell proliferation in PKD is still unknown. This study aimed to determine the pharmacological effects and detailed mechanisms of GA in slowing an in vitro cyst growth model of PKD. The results showed that GA (0.25–2.5 µM) significantly retarded MDCK cyst growth and cyst formation in a dose-dependent manner, without cytotoxicity. Using the BrdU cell proliferation assay, it was found that GA (0.5–2.5 µM) suppressed MDCK and Pkd1 mutant cell proliferation. In addition, GA (0.5–2.5 µM) strongly inhibited phosphorylation of ERK1/2 and S6K expression and upregulated the activation of phosphorylation of AMPK, both in MDCK cells and Pkd1 mutant cells. Taken together, these findings suggested that GA could retard MDCK cyst enlargement, at least in part by inhibiting the cell proliferation pathway. GA could be a natural plant-based drug candidate for ADPKD intervention. Source: https://doi.org/10.3390/molecules27123837

17. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : The Future of Gene Therapy for Transfusion-Dependent Beta-Thalassemia: The Power of the Lentiviral Vector for Genetically Modified Hematopoietic Stem Cells : Parin Rattananon, Usanarat Anurathapan, Kanit Bhukhai and Suradej Hongeng. β-thalassemia, a disease that results from defects in β-globin synthesis, leads to an imbalance of β- and α-globin chains and an excess of α chains. Defective erythroid maturation, ineffective erythropoiesis, and shortened red blood cell survival are commonly observed in most β-thalassemia patients. In severe cases, blood transfusion is considered as a mainstay therapy; however, regular blood transfusions result in chronic iron overload with life-threatening complications, e.g., endocrine dysfunction, cardiomyopathy, liver disease, and ultimately premature death. Therefore, transplantation of healthy hematopoietic stem cells (HSCs) is considered an alternative treatment. Patients with a compatible human leukocyte antigen (HLA) matched donor can be cured by allogeneic HSC transplantation. However, some recipients faced a high risk of morbidity/mortality due to graft versus host disease or graft failure, while a majority of patients do not have such HLA match-related donors. Currently, the infusion of autologous HSCs modified with a lentiviral vector expressing the β-globin gene into the erythroid progenitors of the patient is a promising approach to completely cure β-thalassemia. Here, we discuss a history of β-thalassemia treatments and limitations, in particular the development of β-globin lentiviral vectors, with emphasis on clinical applications and future perspectives in a new era of medicine. Source: https://doi.org/10.3389/fphar.2021.730873

18. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : (RESEARCH ARTICLE) Lowering of lysophosphatidylcholines in ovariectomized rats by Curcuma comosa ว่านชักมดลูก (Curcuma comosa Roxb.) เป็นพืชสมุนไพรในวงศ์ขิงที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง นำมาใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ ในสตรีวัยหมดประจำเดือน เช่น ลดระดับไขมันในเลือด ลดการอักเสบและบรรเทาการเสื่อมสลายของกระดูก อย่างไรก็ตาม กลไกการทำงานของว่านชักมดลูกต่อฤทธิ์ต่าง ๆ ดังกล่าวในร่างกายยังไม่ชัดเจน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิธีการทางเมทาโบโลมิกส์ มาใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารในระบบเมทาบอลิซึม ภายใต้ภาวะที่ถูกรบกวนจากการตัดรังไข่และการรักษาด้วยพืชสมุนไพร ในการวิจัยได้ศึกษาพบว่าในหนูที่ถูกตัดรังไข่นาน 12 สัปดาห์เพื่อเทียบเคียงภาวะหมดประจำเดือน มีการเพิ่มระดับของไขมันฟอสฟาติดิลโคลีน ไลโซฟอสฟาติดิลโคลีนและกรดอะราชิโดนิกในซีรั่มของหนูตัดรังไข่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสารเมทาบอไลท์เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับภาวะออกซิเดชั่นของไขมันและการอักเสบในร่างกายมีผลกระทบต่อระบบเมทาบอลิซึมของร่างกาย การได้รับการรักษาด้วยสารจากว่านชักมดลูกต่อเนื่องเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ สามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสารเหล่านั้นในหนูตัดรังไข่ได้ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสารเมทาบอไลท์เหล่านี้เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญ ที่อาจเป็นประโยชน์ทางคลินิกในการติดตามการรักษาในภาวะที่มีการพร่องของการทำงานของรังไข่ และใช้ประเมินประสิทธิผลของการรักษาด้วยสารไฟโตเอสโตรเจนได้ Reference: Sueajai, J., Sutjarit, N., Boonmuen, N., Auparakkitanon, S., Noumjad, N., Suksamrarn, A., . . . Piyachaturawat, P. (2022). Lowering of lysophosphatidylcholines in ovariectomized rats by Curcuma comosa. PLoS One, 17(5), e0268179. doi:10.1371/journal.pone.0268179

19. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : (RESEARCH ARTICLE) Induction of apoptosis in human colorectal cancer cells by nanovesicles from fingerroot (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) การศึกษาการสกัดนาโนเวสิเคิลจากกระชายและฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยการศึกษาค้นพบกระบวนการสกัดแยกนาโนเวสิเคิลจากกระชายที่มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ การยืนยันคุณลักษณะของเวสิเคิลจากกระชายมีความสอดคล้องกับการศึกษานาโนเวสิเคิลในพืชชนิดอื่น ๆ โดยภายในนาโนเวสิเคิลจากกระชายบรรจุสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางชีวภาพที่หลากหลาย โดยเฉพาะกระบวนการต้านเซลล์มะเร็ง การศึกษาฤทธิ์ในการต้านมะเร็งของนาโนเวสิเคิลจากกระชายพบว่านาโนเวสิเคิลจากกระชายออกฤทธิ์ที่เฉพาะเจาะจงในการฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ลำไส้ปกติ นาโนเวสิเคิลจากกระชายออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งผ่านกลไกการเหนี่ยวนำการตายแบบอะพอพโตซิสและการสร้างสารอนุมูลอิสระ จากการศึกษาการเข้าเซลล์ของนาโนเวสซิเคิลพบว่านาโนเวสิเคิลสามารถเข้าเซลล์ลำไส้ปกติได้น้อยกว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเข้าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักผ่านวิธี caveolae-mediated endocytosis และ phagocytosis Reference: Wongkaewkhiaw, S., Wongrakpanich, A., Krobthong, S., Saengsawang, W., Chairoungdua, A., & Boonmuen, N. (2022). Induction of apoptosis in human colorectal cancer cells by nanovesicles from fingerroot (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.). PLoS One, 17(4), e0266044. doi:10.1371/journal.pone.0266044

.....

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาไบโอพอลิเมอร์เพื่อใช้เป็นกระดูกเทียม สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Rittidach T, Tithito T, Suntornsaratoon P, Charoenphandhu N, Thongbunchoo J, Krishnamra N, Tang IM, Pon-On W. Effect of zirconia-mullite incorporated biphasic calcium phosphate/biopolymer composite scaffolds for bone tissue engineering. Biomedical Physics & Engineering Express 2020. doi:10.1088/2057-1976/aba1c2 ไบโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาใช้เป็นกระดูกเทียมหรือวัสดุคล้ายกระดูก ในงานวิจัยเรื่องนี้ คณะผู้วิจัยศึกษาผลของเซอร์โคเนียมัลไลต์ที่ผสมลงในองค์ประกอบไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟต-ไบโอโพลิเมอร์สำหรับใช้เป็นโครงสร้างเลี้ยงเซลล์ในวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบสมบัติเชิงกลของวัสดุ การเข้ากันได้ทางชีวภาพ และการใช้เป็นโครงสร้างเนื้อเยื่อกระดูกสำหรับใช้ในการรักษาความผิดปรกติของกระดูก องค์ประกอบของวัสดุจัดเตรียมขึ้นด้วยวิธีเบลนดิ้ง ให้วัสดุกลายเป็นไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟต (บีซีพี) และเซอร์โคเนียมัลไลต์ (บีซีพีซีเอเอส) รวมกับโพลิเมอร์เมทริกซ์ของพอลีโพรแลคโตน (พีซีแอล)-อัลจิเนต (เอแอลจี)-ไคโตซาน (ไค) (ไค/เอแอลจี-พีซีแอล)(บีซีพีซีเอเอสแอทไค/เอแอลจี-พีซีแอล) ทั้งนี้มีการวิเคราะห์โครงสร้างระดับจุลภาค สมบัติเชิงกล การออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และสมบัติทางชีววิทยาในระดับหลอดทดลอง โดยการใช้อัตราส่วนของบีซีพีต่อซีเอเอส 1:0, 3:1, 1:1, 1:3 และ 0:1 ตามน้ำหนักในโพลิเมอร์เมทริกซ์ การวิเคราะห์โครงสร้างระดับจุลภาคแสดงให้เห็นว่า อนุภาคบีซีพีซีเอเอสมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอภายในโพลิเมอร์เมทริกซ์ และยังพบว่าสมบัติเชิงกลค่อย ๆ ลดลงเมื่ออัตราส่วนของอนุภาคซีเอเอสเพิ่มขึ้นในโครงสร้างเลี้ยงเซลล์ ค่าความต้านทานแรงอัดสูงสุดมีค่าประมาณ 43 เมกกะปาสคาล สำหรับส่วนผสมที่มีอัตราส่วนของบีซีพีต่อซีเอเอส 3:1 โดยน้ำหนัก เมื่อนำไบโอพอลิเมอร์เหล่านี้มาเลี้ยงเซลล์พบว่า เซลล์สร้างกระดูก (ออสทิโอบลาสต์) สามารถเติบโตบนโครงสร้างนี้ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาต่อเป็นวัสดุทดแทนกระดูก

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ข้อเข่าเสื่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Namhong S, Wongdee K, Suntornsaratoon P, Teerapornpuntakit J, Hemstapat R, Charoenphandhu N. Knee osteoarthritis in young growing rats is associated with widespread osteopenia and impaired bone mineralization. Scientific Reports 2020. doi:10.1038/s41598-020-71941-8 ในอดีตไม่มีใครคิดว่าโรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) จะทำให้มวลกระดูกลดลงจนเกิดภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้ คณะผู้วิจัยได้ทดสอบสมมติฐานนี้ในหนูขาวอายุน้อยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมด้วยการตัดเส้นเอ็นยึดข้อเข่า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในผู้ป่วยอายุน้อยที่เกิดอุบัติเหตุบริเวณเข่า หรือในนักกีฬาที่บาดเจ็บ เป็นต้น ข้อเข่าเสื่อมทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกอ่อนภายในข้อ รวมถึงเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของข้อ ในระหว่างนั้นจะมีการสร้างไซโทไคน์ออกมาหลายชนิด เช่น อินเทอร์ลิวคิน-1 และ อินเทอร์ลิวคิน-6 ซึ่งเมื่อแพร่เข้าสู่กระแสเลือดไปสู่กระดูก จะทำให้เซลล์ของกระดูกทำงานผิดปรกติได้ ในหนูขาวอายุน้อยที่เป็นข้อเข่าเสื่อมนั้น คณะผู้วิจัยพบว่า ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลง ซึ่งเกิดจากเซลล์สลายกระดูก หรือออสทิโอคลาสต์ทำงานเพิ่มขึ้น ส่วนเซลล์สร้างกระดูก หรือออสทิโอบลาสต์ แม้ว่าจะยังพอสร้างเมทริกซ์จำพวกคอลลาเจนออกมาได้ แต่การจับแคลเซียมเพื่อสร้างเป็นเนื้อเยื่อแข็งของกระดูกเกิดได้ไม่ดี ทำให้มวลกระดูกลดลงในที่สุด วงจรการสลาย-การสร้างกระดูกที่ผิดปรกตินี้พบได้ทั่วทั้งร่างกาย ทั้งกระดูกที่อยู่รอบข้อเข่าที่อักเสบ รวมถึงกระดูกสันหลังที่อยู่ไกลออกไป ความรู้จากงานวิจัยเรื่องนี้ มีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพข้อเข่า เช่น การลดน้ำหนัก ลดกิจกรรมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า และการรักษาข้อเข่าอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหากปล่อยให้มีการอักเสบเรื้อรังที่ข้อเข่า ในที่สุดแล้วสารอักเสบต่าง ๆ ก็จะกระจายไปถึงกระดูกทั่วร่างกาย ทำให้การสะสมแคลเซียมผิดปรกติ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : สารปลดปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ยับยั้งการทำงานของโปรตีนขนส่งคลอไรด์ชนิดซีเอฟทีอาร์ สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Rodrat M, Jantarajit W, Ng DRS, Harvey BSJ, Liu J, Wilkinson WJ, Charoenphandhu N, Sheppard DN. Carbon monoxide-releasing molecules inhibit the cystic fibrosis transmembrane conductance regulator Cl– channel. American Journal of Physiology–Lung Cellular and Molecular Physiology 2020;319(6):L997-L1009. Cystic fibrosis transmembrane conductance regulator หรือซีเอฟทีอาร์ เป็นโปรตีนที่เซลล์ใช้ขนส่งคลอไรด์ออกจากเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และท่อน้ำดี เป็นต้น เมื่อกระตุ้นการทำงานของซีเอฟทีอาร์ จะทำให้เยื่อบุผิวขับคลอไรด์ออกจากเซลล์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำแพร่ตามออกไปด้วย ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ร่างกายใช้หล่อลื่นเยื่อเมือก สร้างชั้นน้ำเพื่อปกป้องเซลล์จากจุลินทรีย์หรือสารพิษ ตลอดจนละลายสารต่าง ๆ ด้วย หากซีเอฟทีอาร์ทำงานได้น้อยลงหรือทำงานไม่ได้เลย จะทำให้เกิดโรครุนแรง อาทิ ซิสติกไฟโบรซิส นอกจากนี้อาจมีปอดอักเสบ ลำไส้อุดตัน การย่อยและดูดซึมสารอาหารบกพร่องตามมาได้ ในทางกลับกัน หากซีเอฟทีอาร์ของเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินอาหารทำงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดท้องเสียรุนแรง ร่างกายสูญเสียสารน้ำปริมาณมาก และอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นซีเอฟทีอาร์ต้องทำงานอย่างพอดี ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในงานวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยพบว่า สารเคมีที่ปลดปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์มีผลเชิงลบต่อซีเอฟทีอาร์ กล่าวคือ คาร์บอนมอนอกไซด์ยับยั้งการทำงานของซีเอฟทีอาร์ ทำให้เซลล์ขนส่งคลอไรด์ได้น้อยลง อนึ่ง เนื่องจากคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นสารมลพิษที่พบได้ในอากาศและไอเสีย จึงอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของซีเอฟทีอาร์ภายในเยื่อบุผิวทางเดินหายใจ อาจลดกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่ใช้ปกป้องทางเดินหายใจ และเป็นไปได้ว่าอาจส่งผลทางอ้อมนำไปสู่การติดเชื้อของทางเดินหายใจหรือปอดอักเสบได้

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การบริโภคเกลือเกินพอดีส่งผลเสียต่อระบบสมดุลแคลเซียมและโครงสร้างของกระดูก สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Tiyasatkulkovit W, Aksornthong S, Adulyaritthikul P, Upanan P, Wongdee K, Aeimlapa R, Teerapornpuntakit J, Rojviriya C, Panupinthu N, Charoenphandhu N. Excessive salt consumption causes systemic calcium mishandling and worsens microarchitecture and strength of long bones in rats. Scientific Reports 2021. doi:10.1038/s41598-021-81413-2 เกลือโซเดียมเป็นสารปรุงรสที่ได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานหลายพันปี และยังใช้ถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นาน ปัจจุบันการบริโภคเกลือมากเกินพอดีพบได้ทั่วไปทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา จนเป็นเหตุให้เกิดโรคจากโซเดียมที่เกินในร่างกาย โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ตามมาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โซเดียมที่เกินในร่างกายยังส่งผลเสียต่อเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกด้วย งานวิจัยเรื่องนี้พบว่า หนูที่กินอาหารโซเดียมสูงเป็นเวลานานพบการเสียแคลเซียมทางปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งทำให้ร่างกายเก็บแคลเซียมไว้น้อยลง กล่าวคือทำให้สมดุลแคลเซียมของร่างกายเป็นลบ นอกจากนี้ยังพบว่ามีรูพรุนภายในเนื้อเยื่อกระดูกมากขึ้นจากการตรวจด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ส่วนการวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคของกระดูกพบว่า จำนวนเซลล์สลายกระดูกเพิ่มขึ้นในหนูที่กินอาหารโซเดียมสูง แต่จำนวนเซลล์สร้างกระดูกและปริมาตรของออสทิออยด์ (เนื้อเยื่อกระดูกที่ยังไม่สะสมแคลเซียม) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม การเปลี่ยนแปลงที่พบในกระดูกอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เป็นผลโดยตรงของโซเดียม หรือจากความดันเลือดที่สูงขึ้นเป็นเวลานาน เนื่องจากตรวจพบว่า หนูที่กินอาหารโซเดียมสูงมีความดันระยะหัวใจบีบตัวและความดันระยะหัวใจคลายตัวสูงขึ้นด้วย ดังนั้น การบริโภคเกลือในปริมาณที่เหมาะสมจึงช่วยให้ร่างกายรักษาสมดุลแคลเซียมและเมแทบอลิซึมของกระดูกได้เป็นปรกติ

5. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : บทบาทใหม่ของตัวรับแคลเซียมในการควบคุมการขนส่งไอออนและแคลเซียมผ่านลำไส้ สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Chanpaisaeng K, Teerapornpuntakit J, Wongdee K, Charoenphandhu N. Emerging roles of calcium-sensing receptor in the local regulation of intestinal transport of ions and calcium. American Journal of Physiology–Cell Physiology 2021;320(3):C270–C278. doi: 10.1152/ajpcell.00485.2020 การบริโภคแคลเซียมทั้งจากอาหารและยาทำให้มีความเข้มข้นแคลเซียมเพิ่มสูงขึ้นในโพรงลำไส้ แม้แคลเซียมอาจแพร่ผ่านเยื่อบุผิวลำไส้เข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น แต่เซลล์ลำไส้จะมีการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมในโพรงลำไส้ด้วยหรือไม่ หรือมีการตรวจสอบหรือไม่ว่าแคลเซียมผ่านเยื่อบุผิวไปแล้วมากเท่าใด หากไม่มีการตรวจสอบปริมาณแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายก็อาจเกิดอันตรายจากภาวะแคลเซียมสูงในเลือดหรือปัสสาวะได้ เช่น อาจทำให้เกิดนิ่วในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ในบทความนี้ ผู้นิพนธ์นำเสนอกลไกทางสรีรวิทยาของตัวรับแคลเซียม ซึ่งพบได้ในเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ โดยเซลล์จะใช้ตัวรับชนิดนี้ตรวจวัดความเข้มข้นแคลเซียมภายนอกเซลล์ ทั้งในโพรงลำไส้และสารน้ำรอบเซลล์ และเมื่อพบแคลเซียมสูงขึ้นเป็นเวลานานหรือเซลล์ดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก เซลล์ก็จะกระตุ้นกลไกที่ลดการดูดซึมแคลเซียม จึงเป็นการปกป้องร่างกายไม่ให้ได้รับแคลเซียมสูงมากจนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย นอกจากนี้เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ยังใช้ตัวรับชนิดนี้เพื่อตรวจวัดระดับกรดแอมิโนบางชนิดในโพรงลำไส้ รวมถึงสารประจุบวกอื่น ๆ เช่น แมกนีเซียม และสเปอร์มีน อนึ่ง ตัวรับแคลเซียมยังมีความสำคัญต่อเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้เพื่อการปรับอัตราการขนส่งน้ำและไอออนอีกหลายชนิด เช่น คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต

6. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Wongdee K, Chanpaisaeng K, Teerapornpuntakit J, Charoenphandhu N. Intestinal calcium absorption. Comprehensive Physiology 2021;11(3):1–27. ความเข้าใจเรื่องการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้สำคัญยิ่งต่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและยาเสริมแคลเซียม เนื่องจากลำไส้มีหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีประสิทธิภาพและเงื่อนไขในการดูดซึมแคลเซียมแตกต่างกัน โดยทั่วไปแคลเซียมต้องละลายน้ำและแตกตัวเป็นไอออน เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้จึงจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมและยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม ตัวอย่างเช่น ไอออนของโลหะบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือสังกะสี มักรบกวนการดูดซึมแคลเซียม ส่วนสารอินทรีย์ประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือกรดแอมิโนมีส่วนช่วยกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ อนึ่ง ยังมีฮอร์โมนอีกหลายชนิดในร่างกาย เช่น พาราไทรอยด์ฮอร์โมน วิตามินดี และโพรแลกติน ซึ่งกระตุ้นเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ให้ดูดซึมแคลเซียม ในทางตรงกันข้าม ฮอร์โมนไฟโบรบลาสต์โกรทแฟกเตอร์-23 จะยับยั้งการดูดซึม นอกจากนี้ มีโรคหลายชนิดที่ส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเครียด แม้แต่อายุก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม กล่าวคือ อัตราการดูดซึมแคลเซียมของเซลล์จะลดลงตามอายุ ความรู้เหล่านี้มีส่วนช่วยนักวิจัยและผู้ประกอบการให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงกลุ่มผู้บริโภค และยังส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย ไม่เกิดอันตรายจากการบริโภคแคลเซียมมากเกินไป

7. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การขับไอออนประจุลบออกจากเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ผ่านโปรตีนซีเอฟทีอาร์ สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Chaimana R, Teerapornpuntakit J, Jantarajit W, Lertsuwan K, Krungchanuchat S, Panupinthu N, Krishnamra N, Charoenphandhu N. CFTR-mediated anion secretion in parathyroid hormone-treated Caco-2 cells is associated with PKA and PI3K phosphorylation but not intracellular pH changes or Na+/K+-ATPase abundance. Biochemistry and Biophysics Reports 2021;27:101054. doi:10.1016/j.bbrep.2021.101054 เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้มีหน้าที่หลายอย่าง ทั้งการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ขับน้ำและไอออน เป็นต้น การขับน้ำและไอออน โดยเฉพาะไอออนประจุลบ เช่น คลอไรด์และไบคาร์บอเนต ทำให้ของเหลวในโพรงลำไส้มีความหนืดเหมาะสม รวมทั้งเป็นตัวทำละลายด้วย ส่วนไบคาร์บอเนตช่วยปรับค่าพีเอชให้เป็นด่างอ่อน ๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการย่อยอาหารของลำไส้ ในงานวิจัยนี้พบว่า ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์สำคัญต่อการขับไอออนประจุลบออกจากเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ ซึ่งต้องอาศัยโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ชื่อ ซีเอฟทีอาร์ กล่าวคือ เมื่อฮอร์โมนจับกับตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์แล้ว จากนั้นจะส่งสัญญาณผ่านโปรตีนอีกสองตัวคือ พีเคเอ และ พีไอทรีเค เพื่อทำให้เกิดการขับไบคาร์บอเนต แม้ว่าการขนส่งไบคาร์บอเนตออกจากเซลล์น่าจะทำให้ไซโทพลาซึมมีค่าพีเอชลดลง หรือก็คือเป็นกรดมากขึ้น แต่จากการตรวจวัดด้วยตัวบ่งชี้ฟลูออเรสเซนซ์ที่ไวต่อการเปลี่ยนพีเอช กลับไม่พบสัญญาณเปลี่ยนแปลง แสดงว่าเซลล์สามารถกำจัดกรดส่วนเกินออกจากไซโทพลาซึมได้ดีมาก นอกจากนี้ ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงระดับของโปรตีน โซเดียม-โพแทสเซียม-เอทีพีเอส บนเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งยืนยันว่า จำนวนโปรตีนชนิดนี้เพียงพอต่อการสนับสนุนกลไกการขนส่งไอออนประจุลบ โดยเซลล์ไม่จำเป็นต้องเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน โซเดียม-โพแทสเซียม-เอทีพีเอส บนเยื่อหุ้มเซลล์แต่อย่างใด ผลงานวิจัยนี้ยืนยันความสำคัญของฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสมดุลแคลเซียมแล้ว ยังมีบทบาทควบคุมการขับไอออนประจุลบออกจากเซลล์ด้วย

8. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การบำบัดด้วยไฮเพอร์บาริกออกซิเจนมีผลดีต่อเมแทบอลิซึมของกระดูก สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Imerb N, Thonusin C, Pratchayasakul W, Arunsak B, Nawara W, Aeimlapa R, Charoenphandhu N, Chattipakorn N, Chattipakorn SC. Hyperbaric oxygen therapy improves age induced bone dyshomeostasis in non-obese and obese conditions. Life Sciences 2022;295:120406. doi:10.1016/j.lfs.2022.120406 อายุที่มากขึ้นและโรคอ้วนล้วนเป็นสาเหตุของกระดูกที่เสื่อมลง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุมักพบกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกายและเนื้อเยื่อเมื่อเข้าสู่วัยชรา นอกจากนี้ยังมีโรคทางเมแทบอลิซึมอีกหลายชนิด เช่น เบาหวาน ไขมันสูงในเลือด ความดันเลือดสูง และโรคอ้วน ที่ยิ่งซ้ำเติมทำให้มวลกระดูกของผู้สูงอายุที่น้อยอยู่แล้วยิ่งน้อยลงไปอีก งานวิจัยเรื่องนี้เน้นการใช้การบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูงหรือไฮเพอร์บาริกออกซิเจน ซึ่งเป็นการให้มนุษย์หรือสัตว์ทดลองอยู่ภายใต้บรรยากาศที่มีออกซิเจนปริมาณมาก (เช่น 100% ออกซิเจน) และมีความดันสูงกว่า 1 บรรยากาศ ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพิ่มขึ้น ผลการวิจัยพบว่า หนูทดลองที่กินอาหารไขมันสูงจะมีตัวบ่งชี้การอักเสบของร่างกายเพิ่มมากขึ้น และมีความบกพร่องของโครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูก ส่วนการบำบัดด้วยไฮเพอร์บาริกออกซิเจนทำให้ตัวบ่งชี้การทำงานของกระดูกบางตัวเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ จึงสรุปได้ว่าการบำบัดด้วยไฮเพอร์บาริกออกซิเจนมีผลดีต่อกระดูก และน่าจะนำไปต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์ในระดับคลินิกได้ในอนาคต

9. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การเพิ่มการเคลื่อนไหวแก่ร่างกายมีประสิทธิภาพสูงลดเหล็กเกินที่หัวใจและกระดูกในโรคทาลัสซีเมีย สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Charoenphandhu N, Sooksawanwit S, Aeimlapa R, Thonapan N, Upanan P, Adulyaritthikul P, Krungchanuchat S, Panupinthu N, Teerapornpuntakit J, Rojviriya C, Lertsuwan K, Svasti S, Wongdee K. Mild-intensity physical activity prevents cardiac and osseous iron deposition without affecting bone mechanical property or porosity in thalassemic mice. Scientific Reports 2022;12(1):5959. doi:10.1038/s41598-022-09997-x ทาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประเทศไทยและอีกหลายภูมิภาคทั่วโลก เช่น ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน เกิดจากความผิดปรกติของยีนที่สร้างโปรตีนชื่อ โกลบิน ซึ่งสำคัญต่อการสร้างเฮโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เกิดโลหิตจาง กระดูกวิรูป ทารกที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตในครรภ์ ฯลฯ ผู้ป่วยหลายรายเกิดภาวะเหล็กเกินแบบทุติยภูมิ กล่าวคือ เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กมากเกิน หรือได้รับธาตุเหล็กจากการให้เลือด ทำให้มีเหล็กสะสมอยู่ภายในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ กระดูก เมื่อเหล็กสะสมในร่างกาย จะขับออกได้ยากมาก และก่อให้เกิดพิษแก่เนื้อเยื่อนั้น เป็นต้นว่า ทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติ หรือมีการสลายกระดูกมากขึ้นจนมวลกระดูกลดลง ผู้วิจัยได้ศึกษาหนูที่มีพันธุกรรมเป็นโรคทาลัสซีเมียแต่กำเนิด พบเหล็กสะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะที่ตับ ม้าม หัวใจ กระดูก เป็นต้น การสะสมเหล็กที่เนื้อเยื่อหัวใจแสดงปฏิภาคผกผันกับระดับของไฟโบรบลาสต์โกรทแฟกเตอร์-23 ในเลือด ดังนั้นจึงอาจใช้ชีววัตถุชนิดนี้ลดระดับเหล็กที่สะสมในหัวใจได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การออกกำลังกายเบา ๆ แม้ว่าจะไม่ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้หรือลดความพรุนของกระดูก แต่ก็มีประโยชน์ช่วยลดปริมาณเหล็กที่สะสมในเนื้อเยื่อหัวใจและกระดูกได้ จึงอนุมานได้ว่า ผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมียที่เหนื่อยง่ายหรือไม่สามารถออกกำลังกายหนัก ๆ ได้ ก็อาจได้ประโยชน์จากการออกกำลังเบา ๆ อาทิ การเดิน หรือแม้แต่เพิ่มการเคลื่อนไหวแก่ร่างกายราวร้อยละ 30–50 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดก็อาจช่วยลดพิษจากเหล็กเกินในเนื้อเยื่อได้

10. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ความชราจากดี-กาแล็กโทสกับความเสื่อมของกระดูก สรุปโดย : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Imerb N, Thonusin C, Pratchayasakul W, Arunsak B, Nawara W, Ongnok B, Aeimlapa R, Charoenphandhu N, Chattipakorn N, Chattipakorn SC. D-galactose-induced aging aggravates obesity-induced bone dyshomeostasis. Scientific Reports 2022;12(1):8580. doi:10.1038/s41598-022-12206-4 มีหลายปัจจัยที่เร่งความเสื่อมของกระดูกโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ไม่ว่าจะเป็นการขาดฮอร์โมนเพศจากรังไข่ และโรคอื่น ๆ ที่มักพบเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เช่น เบาหวาน ไขมันสูงในเลือด ความดันเลือดสูง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ความชรา เบาหวาน และไขมันสูงในเลือด ที่จริงแล้วเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อกระดูกด้วยกลไกที่แตกต่างกัน และยังไม่ชัดเจนว่า หากผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเหล่านี้พร้อม ๆ กัน กระดูกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร งานวิจัยเรื่องนี้ใช้สารดี-กาแล็กโทสเพื่อเร่งให้ร่างกายหนูทดลองเข้าสู่วัยชรา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวชี้วัดทางแมเทบอลิซึมคล้ายที่พบในโรคเบาหวาน และความเครียดออกซิเดชัน เหล่านี้ทำให้โครงสร้างทางจุลภาคของกระดูกเสื่อมมากกว่าที่ควร กลไกระดับเซลล์เกี่ยวข้องกับเซลล์สลายกระดูกหรือออสทิโอคลาสต์ที่ทำงานเพิ่มขึ้น กล่าวคือดี-กาแล็กโทสช่วยให้ออสทิโอคลาสต์เจริญกลายเป็นเซลล์ที่มีหลายนิวเคลียส ทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าปรกติ ความเสื่อมของกระดูกจะยิ่งเพิ่มขึ้นหากหนูได้รับอาหารไขมันสูง นอกจากนี้ยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับแอลดีแอลในเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของภาวะไขมันสูงในเลือดมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับซีทีเอ็กซ์-1 ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การสลายกระดูก กล่าวโดยสรุปคือ ความชราจากดี-กาแล็กโทส ตลอดจนอาหารไขมันสูงนำไปสู่ความเสื่อมของกระดูกได้ จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาแนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานและไขมันสูงในเลือด

.....

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายและการใช้เอสโตรเจนทดแทนต่อการเป็นพิษต่อหัวใจที่เป็นผลจากการใช้ยาด็อกโซรูบิซิน โดยเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการทำงานของแมสเซลล์ สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Phungphong S, Kijtawornrat A, Kampaengsri T, Wattanapermpool J, Bupha-Intr T*. Comparison of exercise training and estrogen supplementation on mast cell-mediated doxorubicin-induced cardiotoxicity. Am J Physiol Regul Integr Comp Physiol 2020 May;318(5):R829-R42. ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin) เป็นยาเคมีบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษามะเร็งหลากหลายชนิด และพบผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อการทำงานของหัวใจ การหาวิธีการป้องกันภาวการณ์ทำงานของหัวใจที่ผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ การออกกำลังกายและการให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน เป็นวิธีการที่พบก่อนหน้านี้แล้วว่าสามารถช่วยการทำงานของหัวใจได้ อย่างไรก็ตามผลของการออกกำลังกายเป็นประจำและการให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนต่อการทำงานของหัวใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงนำมาสู่คำถามวิจัย ได้แก่ 1) ฮอร์โมนเพศหญิงปกป้องการทำงานของหัวใจภายใต้ภาวะความเป็นพิษของด็อกโซรูบิซินต่อหัวใจได้หรือไม่ อย่างไร 2) การออกกำลังกายเป็นประจำป้องการทำงานของหัวใจภายใต้ภาวะความเป็นพิษของด็อกโซรูบิซินต่อหัวใจได้หรือไม่ อย่างไร กลุ่มงานวิจัยสรีรวิทยาทางหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาสรีรวิทยา ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายและการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนภายใต้ภาวะความเป็นพิษของด็อกโซรูบิซินต่อหัวใจ โดยเน้นศึกษาการทำงานของแมสเซลล์ (Mast cells) ในหัวใจซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนสามารถลดผลกระทบของ Doxorubicin ต่อการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจในหนูที่ตัดรังไข่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถช่วยรักษาเสถียรภาพการทำงานของแมสเซลล์ และลดกระบวนการอักเสบในหัวใจได้

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การเพิ่มความสามารถในการทำงานของหัวใจหนูที่มีการตัดรังไข่ (Ovariectomy) โดยสารต้านอนุมูลอิสระ Tempol สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Phungphong S, Kijtawornrat A, Wattanapermpool J, Bupha-Intr T*. Improvement in cardiac function of ovariectomized rats by antioxidant tempol. Free Radic Biol Med 2020 Nov;160:239-45. สตรีเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (อายุเฉลี่ย 45-55 ปี) จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายในระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่ผิดปกติ ปัจจุบันการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทนแม้จะสามารถลดอาการไม่พึงประสงค์ได้ แต่ผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกลับเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมหรือนิ่วในถุงน้ำดี ฯลฯ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจว่า การขาดสารต้านอนุมูลอิสระอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หัวใจและหลอดเลือดมีการทำงานที่ผิดปกติในสตรีวัยหมดประจำเดือน กลุ่มงานวิจัยสรีรวิทยาทางหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาสรีรวิทยา ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพื่อศึกษาผลของสารต้านอนุมูลอิสระต่อการทำงานของหัวใจในสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยการวัดการทำงานของหัวใจในหนูที่ตัดรังไข่ภายหลังได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า 1) การขาดฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มระดับอนุมูลอิสระในเส้นใยกล้ามเนื้อของหัวใจ 2) สารต้านอนุมูลอิสระสามารถฟื้นฟูการทำงานของหัวใจในหนูที่ตัดรังไข่ โดยส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการหดตัวของทั้งกล้ามเนื้อและเซลล์หัวใจ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกับแคลเซียมในหัวใจได้ด้วย

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ผลของการออกกำลังกายต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของแมสเซลล์ในหัวใจหนูที่มีการตัดรังไข่ สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Phungphong S, Kijtawornrat A, Wattanapermpool J, Bupha-Intr T*. Regular exercise modulates cardiac mast cell activation in ovariectomized rats. J Physiol Sci. 2016;66(2):165-73. สตรีเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เป็นช่วงวัยที่ร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงลดลงอย่างมาก พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงและมีความเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจล้มเหลวมากขึ้น มีการศึกษาผลกระทบดังกล่าวอย่างกว้างขวางรวมทั้งศึกษาวิธีการป้องกันต่างๆ แต่ยังไม่พบบทสรุปที่ดีและปลอดภัยที่สุด การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนและการออกกำลังกายมีการศึกษาแล้วว่าช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจในภาวะขาดฮอร์โมนเพศหญิง อย่างไรก็ตามกลไกของผลดังกล่าวยังไม่เป็นที่แน่ชัดโดยเฉพาะกลไกที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในหัวใจ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดแมสเซลล์ (mast cells) ในหัวใจในภาวะต่างๆ ได้แก่ ภาวะการลดลงของฮอร์โมนเพศหญิงทั้งในภาวะที่มีการให้ฮอร์โมนทดแทนและการออกกำลังกายเป็นประจำ โดยใช้หนูขาวเป็นตัวแบบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า 1) การลดลงของฮอร์โมนเพศหญิงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพของแมสเซลล์ในหัวใจ โดยมีการเพิ่มจำนวนและถูกกระตุ้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สัมพันธ์กับการที่หัวใจมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง 2) การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนหรือการออกกำลังกายเป็นประจำช่วยรักษาเสถียรภาพของแมสเซลล์ให้เป็นปกติได้โดยการป้องกันไม่ให้มีการถูกกระตุ้นที่มากเกินไป สอดคล้องกับการทำงานของหัวใจที่ดีขึ้น ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สนับสนุนให้สตรีวัยหมดประจำเดือนได้ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : บทบาทของแมสเซลล์ต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหัวใจจากการออกกำลังกาย ในหนูตัดรังไข่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่เหนี่ยวนำโดยแองจิโอเทนซิน 2 สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Jitmana R, Raksapharm S, Kijtawornrat A, Saengsirisuwan V, Bupha-Intr T*. Role of cardiac mast cells in exercise training-mediated cardiac remodeling in angiotensin II-infused ovariectomized rats. Life Sci. 2019;219:209-18. สตรีเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะมีการลดลงของฮอร์โมนเพศหญิง เหนี่ยวนำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจจะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหากมีภาวะผิดปกติอื่นอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ก็ยิ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโตและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว ดังนั้นสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวจำเป้นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ โดยเป็นที่รู้อยู่แล้วว่าการออกกำลังเป็นประจำเป็นวิธีการที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจได้ทั้งในสตรีวัยหมดประจำเดือน และผู้มีความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามกลไกการป้องกันความผิดปกติด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำไม่เป็นที่แน่ชัด โดยก่อนหน้านี้ผู้วิจัยพบว่า การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยป้องกันการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจในหนูขาวที่มีการลดลงของฮอร์โมนเพศหญิงโดยการตัดรังไข่ผ่านการควบคุมเสถียรภาพการทำงานของแมสเซลล์ (mast cells) ดังนั้นในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลของการออกกำลังกายต่อการทำงานของแมสเซลล์ในหัวใจหนูขาวที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงและมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันการทำงานที่มากเกินไปของแมสเซลล์ในหัวใจหนูที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงได้ ผลการศึกษาสนับสนุนให้สตรีวัยหมดประจำเดือนและมีภาวะความดันโลหิตสูงได้ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ

5. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ฤทธิ์ของ 20-hydroxyecdysone ในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหัวใจหนูที่มีภาวะความดันโลหิตสูง สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Phungphong S, Kijtawornrat A, Chaiduang S, Saengsirisuwan V, Bupha-Intr T*. 20-Hydroxyecdysone attenuates cardiac remodeling in spontaneously hypertensive rats. Steroids. 2017;126:79-84. ความดันโลหิตสูงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิต กลไกการเกิดโรคและวิธีการป้องกันรักษาได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย ฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอีกหนึ่งสารในร่างกายที่มีบทบาทในการช่วยลดความดันโลหิต อย่างไรก็ตามการใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนมีผลไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและมะเร็งเต้านม ผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาสารทดแทนอื่น ได้แก่ สาร 20-hydroxyecdysone ซึ่งเป็นสารสเตียรอยด์ที่พบได้ในพืชและแมลงชนิดต่าง ๆ โดยก่อนหน้านี้มีการศึกษาพบว่า สาร 20-hydroxyecdysone มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของกระดูกในสัตว์ทดลองที่มีการตัดรังไข่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้มีสมมติฐานว่า สาร 20-hydroxyecdysone จะมีฤทธิ์ในการช่วยลดความดันโลหิตเช่นที่พบฤทธิ์ดังกล่าวในฮอร์โมนเพศหญิง จากการศึกษาในหนูขาวที่มีความดันโลหิตสูงก็พบว่า การได้รับสาร 20-hydroxyecdysone อย่างต่อเนื่องช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบผลที่ช่วยในการลดขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่มีการโตจากการเหนี่ยวนำของภาวะความดันโลหิตสูงได้ จากผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า สาร 20-hydroxyecdysone มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาศึกษาต่อยอดเพื่อใช้ในการช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงและป้องกันการเกิดความผิดปกติของหัวใจต่อไป

6. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : ผลของ alpha-mangostin ในการยับยั้งแบบเฉียบพลันต่อโปรตีนขนส่ง sarcoplasmic reticulum calcium-ATPase และการคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Phungphong S, Kijtawornrat A, de Tombe PP, Wattanapermpool J, Bupha-Intr T*, Suksamrarn S. Acute inhibitory effect of alpha-mangostin on sarcoplasmic reticulum calcium-ATPase and myocardial relaxation. J Biochem Mol Toxicol. 2017;31(10). สาร alpha-mangostin เป็นสารหลักที่ได้จากการสกัดจากเปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการรายงานผลในเรื่องของฤทธิ์ในการต้านมะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผลของสารดังกล่าวนี้ต่อการทำงานของหัวใจยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างแน่ชัด มีการศึกษาก่อนหน้าที่รายงานว่า alpha-mangostin รบกวนสมดุลของแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อลายโดยการลดประสิทธิภาพการทำงานของโปรตีนขนส่งบนเยื่อหุ้ม sarcoplasmic reticulum (SR) เนื่องจากกลไกการควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจมีความคล้ายกัน จึงนำมาสู่คำถามวิจัยว่า สาร alpha-mangostin อาจมีฤทธิ์ในการยับยั้งการควบคุมการขนส่งแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่า สาร alpha-mangostin มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตีนขนส่งดังกล่าว จากผลดังกล่าวก็ทำให้การขนส่งแคลเซียมกลับเข้าสู่ SR ลดลง ซึ่งพบว่าสารนี้ทำให้การคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีอัตราที่ช้าลงด้วย ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การนำสาร alpha-mangostin ไปใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ควรให้ความสำคัญต่อผลที่อาจมีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจด้วย

7. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การลดลงของ cross-bridge cycle ของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจของหนูที่ตัดอัณฑะ สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Wadthaisonga M, Wattanapermpoola J, de Tombe P, Bupha-Intr T*. Suppression of myofilament cross-bridge kinetic in the heart of orchidectomized rats. Life Sci. 2020;261. การลดลงของฮอร์โมนเพศชายในร่างกายมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นบทบาทของฮอร์โมนเพศชายต่อการควบคุมการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดจึงได้รับความสนใจ มีการศึกษาพบว่าในหนูที่ตัดอัณฑะซึ่งทำให้หัวใจมีการบีบตัวลดลง โดยกลไกหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการควบคุมปริมาณและการเคลื่อนที่ของแคลเซียมภายในเซลล์ขณะที่เซลล์หัวใจมีการบีบและคลายตัว ในงานวิจัยครั้งนี้เราได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของเส้นใยโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจได้แก่ แอกทินและไมโอซิน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ โดยการจับกันและคลายอย่างต่อเนื่องของโปรตีนทั้งสองทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว ซึ่งกลไกนี้เรียกว่า cross-bridge cycle ในงานครั้งนี้เรามีจุดประสงค์เพื่อที่จะศึกษาผลจากการขาดฮอร์โมนเพศชายต่อประสิทธิภาพของ cross-bridge cycle ในหัวใจหนู ผลการศึกษาก็พบว่าในหนูที่มีการตัดอัณฑะนั้นมีการลดอัตราการเกิด cross-bridge cycle ของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสามารถในการบีบตัวของหัวใจลดลง นอกจากนี้เรายังพบว่า การช้าลงของ cross-bridge cycle เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของชนิดโปรตีนบนเส้นใยไมโอซิน โดยที่มีการลดลงของโปรตีน myosin heavy chain ชนิดหดตัวเร็ว (แอลฟา) อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหนูที่มีการตัดอัณฑะนี้ สามารถถูกป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจากการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนทดแทน จากผลการศึกษาครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เข้าใจถึงกลไกของฮอร์โมนเพศชายในการควบคุมการทำงานของหัวใจมากยิ่งขึ้น และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในผู้ชายที่มีสภาวะการลดลงของฮอร์โมนเพศ เช่น ในผู้ชายสูงวัย ต่อไป

8. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การลดลงของฮอร์โมนเพศหญิงส่งผลให้ลดการตอบสนองของกระบวนการไมโทฟาจีในหัวใจหนู สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Kampaengsri T, Ponpuak M, Wattanapermpoola J, Bupha-Intr T*. Deficit of Female Sex Hormones Desensitizes Rat Cardiac Mitophagy. Chin J Physiol. 2021;64. ในช่วงที่ผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นำมาซึ่งความสนใจเกี่ยวกับบทบาทของฮอร์โมนเพศหญิงต่อการทำงานของหัวใจ ห้องปฏิบัติการของเราได้มีการศึกษาและยืนยันผลดังกล่าวในหนูทดลองที่มีการตัดรังไข่พบว่าในหนูดังกล่าวมีการทำงานของหัวใจที่ลดลงทั้งในแง่การหดตัวและการคลายตัว กลไกหนึ่งที่เราพบว่าทำให้หัวใจหนูที่ตัดรังไข่ทำงานได้แย่ลงคือการที่มีการสะสมของไมโทคอนเดรียที่เสื่อมสภาพมากยิ่งขึ้นในเซลล์หัวใจหนู ซึ่งไมโทคอนเดรียที่เสื่อมสภาพนั้นจะทำให้การผลิตพลังงานในเซลล์ไม่สมดุล ในการศึกษาครั้งนี้เราจึงได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงกระบวนการที่ทำให้มีการสะสมของไมโทคอนเดรียที่เสื่อมสภาพภายหลังจากการขาดฮอร์โมนเพศ โดยมีสมมติฐานว่าการขาดฮอร์โมนเพศหญิงจะทำให้กระบวนการในการกำจัดไมโทคอนเดรียที่เสื่อมสภาพหรือที่เรียกว่า ไมโทฟาจี ลดประสิทธิภาพลง ผลการศึกษาพบว่าเซลล์หัวใจหนูที่ตัดรังไข่นั้นจะมีการสะสมของไมโทคอนเดรียที่เสื่อมสภาพมากขึ้น แต่กระบวนการไมโทฟาจีกลับไม่มีการตอบสนองมากขึ้นตาม นอกจากนี้เรายังแสดงให้เห็นว่า มีโปรตีนสำคัญสองชนิดที่เป็นตัวกลางในการเกิดไมโทฟาจีได้แก่ Parkin และ Bcl2l13 มีปริมาณที่ลดลง ข้อสรุปจากการศึกษาบ่งชี้ให้เห็นว่าฮอร์โมนเพศหญิงมีอิทธิพลต่อกระบวนการกำจัดไมโทคอนเดรียที่ผิดปกติในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการหาแนวทางการป้องกันการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ต่อไป

.....

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การค้นหาวิธีที่ใช้ทดสอบการประมวลความคิดขณะเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาเรื่องการคิดเลข สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Pumpho A, Chaikeeree N, Saengsirisuwan V, Boonsinsukh R. Selection of the Better Dual-Timed Up and Go Cognitive Task to Be Used in Patients With Stroke Characterized by Subtraction Operation Difficulties. Frontiers in Neurology 2020. doi: 10.3389/fneur.2020.00262. การควบคุมรยางค์ให้ทำงานประสานกันมีความสำคัญต่อการเดิน นอกจากนี้ร่างกายยังต้องสามารถควบคุมการทรงตัวขณะเดินในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การเดินข้ามสิ่งกีดขวาง สภาพพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ การปรับเปลี่ยนความเร็วในการเดิน การประมวลความคิดขณะเดิน การพูดคุยกับเพื่อนที่ร่วมเดินไปด้วยกัน ดังนั้นการตรวจประเมินความสามารถในการเดินควรครอบคลุมสถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันขณะเดินเพื่อค้นหาปัญหาและทำการฟื้นฟูให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความบกพร่องในการประมวลความคิดขณะเดิน ในทางคลินิกการทดสอบความสามารถด้านนี้จะกระทำโดยให้ผู้ถูกทดสอบทำการลบเลขถอยหลังทีละ 3 แต่วิธีทดสอบนี้ไม่สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาเรื่องการคิดเลขได้ ดังนั้นการศึกษานี้ได้ทำการทดสอบเพื่อคิดค้นวิธีการที่ใช้การประมวลความคิดให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะเดิน พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการคิดเลข การทดสอบความสามารถในการประมวลความคิดโดยให้ผู้ป่วยคิดคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยคำต่าง ๆ ที่กำหนดให้ เช่น “ก” เป็นวิธีการทดสอบที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้ป่วย มีความแม่นยำ สามารถใช้ทดแทนวิธีการลบเลขถอยหลังทีละ 3 ที่ใช้ทดสอบความสามารถในการประมวลความคิดขณะเดินของผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่สามารถคิดเลขได้

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การยืนบนแผ่นโฟมเพื่อคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการล้ม สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Boonsinsukh R, Khumnonchai B, Saengsirisuwan V, Chaikeeree N. The effect of the type of foam pad used in the modified Clinical Test of Sensory Interaction and Balance (mCTSIB) on the accuracy in identifying older adults with fall history. Hong Kong Physiotherapy Journal 2020. doi: 10.1142/S1013702520500134. ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการล้มสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น การทดสอบความสามารถในการทรงตัวเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงในการระบุผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการล้ม การทดสอบทำได้โดยให้ผู้สูงอายุยืนบนพื้นราบและบนพื้นโฟมร่วมกับการลืมตาหรือหลับตา และสังเกตว่าผู้สูงอายุสามารถยืนได้นานและมั่นคงหรือไม่ งานวิจัยนี้ศึกษาประเภทของโฟมที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการทรงตัวว่ามีความแม่นยำในการระบุผู้สูงอายุที่มีประวัติล้มหรือไม่ และเพื่อค้นหาคะแนนที่ใช้ในการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการล้ม โดยเปรียบเทียบประเภทของโฟมที่จำหน่ายในท้องตลาด 2 ชนิด คือ Neurocom โฟม และ Eric โฟม ผลการศึกษาพบว่า โฟมทั้ง 2 ประเภทมีความแม่นยำสูงในการระบุผู้สูงอายุที่มีประวัติการล้ม และประเภทของการตรวจที่มีความแม่นยำในการระบุผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มคือการยืนบนโฟม (หลับตา 120 วินาที และลืมตา 120 วินาที) มากกว่าการทดสอบการยืนบนพื้นราบ ในการตรวจประเมิน ให้ผู้ตรวจจับเวลาที่ผู้สูงอายุสามารถยืนบนโฟมทั้งขณะลืมตาและหลับตา จากนั้นนำเวลาที่จดไว้มารวมกัน ผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มคือกลุ่มที่ยืนบนโฟมได้น้อยกว่า 223 วินาที

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : 20-Hydroxyecdysone ameliorates metabolic and cardiovascular dysfunction in high-fat high-fructose-fed ovariectomized rats สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Buniam J, Chukijrungroat N, Rattanavichit Y, Surapongchai J, Weerachayaphorn J, Bupha-Intr T, Saengsirisuwan V. BMC Complement Med Ther. 2020 May 6;20(1):140. doi: 10.1186/s12906-020-02936-1. บทสรุปผลงานวิจัย : Cardiometabolic syndrome (CMS) is a clustering of multifaceted conditions characterized by several cardiovascular and metabolic risk factors, including dyslipidemia, hypertension, central obesity, compensatory hyperinsulinemia, and glucose intolerance. It has been reported that prolonged use of clinical drugs prescribed to CMS patients may induce adverse effects such as pulmonary edema, hepatic steatosis, and congestive heart failure. Thus, the development of CMS medication should preferably be shifted toward natural sources without side effects. Notably, ecdysteroids are known as invertebrate steroid hormones which can also be found in many plant species. Since 20-hydroxyecdysone (20E), the major biologically active ecdysteroid found in invertebrates and plants, exhibited the wound-healing, immunoprotective and anti-osteoporosis effects, the present study examined whether 20E would attenuate CMS in a rat model induced by a high-calorie diet combined with female sex hormone deprivation. Ovariectomized rats fed a high-fat-high-fructose diet (OHFFD) were intragastrically administered with 20E for 8 weeks. We found that 20E treatment resulted in (1) a reduction in body weight and central adiposity without changes in total caloric intake and fat free mass; (2) a lower level of low-density lipoprotein (LDL)-cholesterol with normal blood pressure; (3) an improvement in whole body glucose homeostasis with a significantly increased expression of pAkt Ser473, pFOXO1 Ser256, pAMPK Thr172, and FGF21 in the liver tissue. Taken together, we reported that 20E treatment attenuates several manifestations of CMS. 20E improves whole body insulin sensitivity in OHFFD rats, and the mechanisms that underlie this favorable effect are potentially mediated by the inhibition of gluconeogenic proteins in the liver. The present study indicates that 20E could be an alternative therapeutic option for the prevention of CMS.

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Hydration Status, Fluid Intake, Sweat Rate, and Sweat Sodium Concentration in Recreational Tropical Native Runners สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Surapongchai J, Saengsirisuwan V, Rollo I, Randell RK, Nithitsuttibuta K, Sainiyom P, Leow CHW, Lee JKW. Nutrients. 2021 Apr 20;13(4):1374. doi: 10.3390/nu13041374. บทสรุปผลงานวิจัย : Sweat evaporation is important for the dissipation of metabolic heat production, which may increase ten- to twenty-fold during exercise. Sweat loss during exercise can result in rapid rises of core body temperature, hypohydration, electrolyte imbalance, increased physiological strain and perception of effort. Tropical natives are likely to be more heat-acclimatized than athletes who live in temperate or cool environments. Nevertheless, there are limited data on sweat rate and sweat composition of tropical native athletes, which may impact on hydration strategies during and after exercise in this population. Knowledge of sweat responses and sweat composition of tropical native athletes will allow us to understand if consensus recommendations on hydration are also relevant to heat-acclimatized athletes. Therefore, the present study evaluated the hydration status, fluid intake, sweat rate, and sweat sodium concentration in recreational tropical native runners during which they ran at their self-selected pace for 30–100 min. Age, environmental conditions, running profiles, sweat rates, and sweat sodium data were recorded. Differences in age, running duration, distance and pace, and physiological changes between sexes were analyzed. We found that males had lower relative fluid intake and greater relative fluid balance deficit than females. Males had higher whole-body sweat rates than females. Mean rates of sweat sodium loss were higher in males than females. Collectively, as we demonstrated that the sweat profile and composition in tropical native runners are similar to reported values in the literature, the current fluid replacement guidelines pertaining to volume and electrolyte replacement are applicable to tropical native runners.

5. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Classification of limb and mobility impairments in persons with stroke using the STREAM สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Winairuk T, Chaikeeree N, Sirisup S, Saengsirisuwan V, Boonsinsukh R. Journal of Neurologic Physical Therapy. 2022 Apr 1;46(2):96-102. doi: 10.1097/NPT.0000000000000384. บทสรุปผลงานวิจัย : การจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสำคัญในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย แต่แบบประเมิน STREAM ซึ่งใช้ประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองยังไม่มีข้อมูลเพื่อการจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว การศึกษานี้จึงมุ่งที่จะจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบุระดับความยากของหัวข้อประเมินในแบบประเมิน STREAM โดยใช้ Rasch analysis ในการวิเคราะห์คะแนนประเมินที่ได้รับจากแบบประเมิน STREAM ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 240 คนได้รับการตรวจประเมินด้วยแบบประเมิน STREAM แบบประเมิน Fugl Meyer Stroke assessment (FM) และแบบประเมิน Functional Ambulation Scale (FAC) วิเคราะห์ค่า concurrent validity ระหว่างระดับคะแนน STREAM ของแขนและขา (STREAM-E) กับระดับคะแนน FM และระหว่างระดับคะแนน STREAM ของการทำกิจกรรม (STREAM-M) กับระดับคะแนน FAC ด้วย Spearman Rank-order Correlation ผลการศึกษาพบว่า ค่า person reliability ของ STREAM-E และ STREAM-M คือ 0.92 และ 0.80 ตามลำดับ ส่วนค่า item reliability เท่ากับ STREAM-E (0.97) และ STREAM-M (0.99) หัวข้อประเมินการงอเข่าและงอสะโพกในท่านอนหงาย และหัวข้อประเมินการพลิกตะแคงตัว เป็นหัวข้อที่ง่ายที่สุด ในขณะที่หัวข้อประเมินการกระดกข้อเท้าพร้อมเหยียดเข่า เป็นหัวข้อที่ยากที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยพบว่าระดับคะแนน STREAM-E มีความสัมพันธ์ในระดับที่สูงกับ (0.83) ระดับคะแนน FM ในการจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวของแขนและขา เป็น 5 ระดับ (เล็กน้อย ปานกลาง ปานกลางกึ่งรุนแรง รุนแรง และรุนแรงมาก) ส่วนระดับคะแนน STREAM-M มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับ (0.71) ระดับคะแนน FAC ในการจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการทำกิจกรรมเป็น 3 ระดับ (เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง) ดังนั้นการศึกษานี้พบว่าแบบประเมิน STREAM สามารถนำไปใช้ในการตรวจประเมินและวางแผนการรักษาเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

......

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being): Papadimitriou I, Eynon N, Yan X, Munson F, Jacques M, Kuang J, et al. A human knockout model to investigate the influence of the α-actinin-3 protein on exercise-induced mitochondrial adaptations. Sci Rep. 2019;9(1):1-14 Summary: The human ACTN3 gene encodes α-actinin-3 protein, a major structural component of the contractile apparatus in fast skeletal muscle fibers. Previous studies in Actn3 knockout (KO) mice have demonstrated that loss of α-actinin-3 results in a significant shift in the metabolic phenotype of type 2 (fast) muscle fibers, away from their traditional anaerobic pathways towards the more efficient aerobic pathways. This shift toward the slow muscle fiber characteristics was demonstrated at baseline in α-actinin-3 deficient (KO) mouse muscle, and was more pronounced in response to endurance training. These data suggest that the ACTN3 genotype may also be a major determinant of the adaptive response to exercise training in humans. The major gap in the field was a direct demonstration of the effects of the ACTN3 genotype on the characteristics of human muscle pre and post exercise training. In the current study, I aimed to identify the molecular mechanisms underlying the effects of α-actinin-3 deficiency in human skeletal muscle function and metabolism and to investigate whether α-actinin-3 deficiency alters response to exercise training in humans. Impact of research: By this unique “human knockout” approach to investigate the influence of α-actinin-3 protein on exercise-induced mitochondrial adaptation in human muscle crossing research specialties by applying methodological approaches from the fields of Molecular Biology and Exercise Physiology, I demonstrated the quantitative contribution of specific genes on certainaspects of human physiology and the role of α-actinin-3 protein in response to exercise. This study has implications for our understanding of the factors that influence gains in muscle mass, strength and endurance performance in athletes and the general population. The ability to identify those who best respond to specific exercise training regimes has exciting potential future applications for athlete talent identification and the development of personalized exercise prescription. Furthermore, researchers can use this study model as an example in future studies for studying other gene variants that influence athletic performance. Area of expertise: Expertise in various laboratory techniques such as PCR, DNA & RNA isolation, Western Blot and VO2max as well as conducting various molecular essays in human muscle biopsy and blood specimens in situ and in vitro.

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being): Moe T, Wongveerakul P, Saengsirisuwan V, Charoenpanich N, Papadimitriou I. Investigating the Influence of ACTN3 R577X polymorphism on performance and angular kinematics using motion capture technology. Open Sports Sci J. 2022;15:1-10 Summary: The human ACTN3 gene encodes α-actinin-3 protein, a major structural component of the contractile apparatus in fast skeletal muscle fibers. Previous studies have reported an advantageous effect of α-actinin-3 protein on various power related phenotypes, such as vertical jump height or short distance sprint times. Isokinetic dynamometry has also been used to investigate the influence of α-actinin-3 protein on single-joint angular kinematics at a constant angular velocity dictated by the machine. One of the limitations of these studies is their weak correlation with multi-joint functional test results, such as vertical jumps or short sprints, involving a stretch-shortening cycle (SSC) type motion. The major gap in the field is a direct demonstration of the effects of the ACTN3 genotype on the characteristics of human muscle during fast SSC type of movements. This study addressed these limitations and provided deeper insights into the influence of the ACTN3 R577X gene on human locomotion by using motion capture technology and by studying the influence of this genotype on more specific parameters that influence speed-power performance. Impact of research: By this unique approach to investigate the influence of α-actinin-3 protein on human locomotion crossing research specialties, I demonstrated for the first time the quantitative contribution of specific genes on certain athletic performance characteristics such as angular velocity and torque production during explosive body movements. These data suggestthat the ACTN3 genotype may influence certain performance characteristics and our findings have implications for our understanding of the factors that contribute to the development of explosive speed in athletes and the general population. This has exciting potential future applications for athlete talent identification and the development of personalized exercise prescription. Furthermore, researchers can use this study approach as an example in future studies for studying other gene variants that influence human locomotion. Area of expertise: Expertise in various laboratory techniques such as PCR, DNA isolation as well as adapting Motion Capture Technology and utilizing it in the field of Exercise Physiology and Muscle Genomics.

.....

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง: SDG 3 (Good Health and Well-Being) ผลงานวิจัยเรื่อง Regulation of vitamin D system in skeletal muscle and resident myogenic stem cell during development, maturation, and ageing. Sci Rep. 2020;10:8239. ผู้แต่ง Srikuea R*, Hirunsai M, Charoenphandhu N สรุปโดย ผศ.ดร.รัชกฤต ศรีเกื้อ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: ปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาบทบาทใหม่ของวิตามินดีในด้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมดุลแคลเซียม (non-calcemic action) ดังเช่นงานวิจัยเรื่องนี้ที่แสดงให้เห็นถึงระบบการทำงานของวิตามินดีที่ระดับเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อลายในช่วงพัฒนาการ เจริญเต็มวัย และระยะเริ่มต้นของการชราภาพ โดยใช้กล้ามเนื้อลายของหนูเม้าส์ที่มีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตที่เปรียบเทียบได้กับมนุษย์ในการศึกษา ผลการศึกษาวิจัยพบว่ากล้ามเนื้อลายมีกระบวนการเมแทบอลิซึมของวิตามินดีอย่างจำเพาะ ขณะที่การเพิ่มขึ้นของตัวรับสัญญาณการทำงานของวิตามินดี (vitamin D receptor) อย่างมีนัยสำคัญในระยะเริ่มต้นของการชราภาพเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเจริญเต็มวัยไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามินดี [25(OH)D] และแคลเซียมในเลือด แต่มีความเกี่ยวข้องกับการลดลงของวิถีสัญญาณการสร้างโปรตีน (mTOR signaling) และระดับการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อลาย นอกจากนี้การตอบสนองของเซลล์ต้นกำเนิดกล้ามเนื้อลายต่อ active form ของวิตามินดี 3 (calcitriol) ในหลอดทดลองมีค่าลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ผลดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณลักษณะการเจริญเติบโตของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของวิตามินดีในระดับเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิดกล้ามเนื้อลายนี้จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการนำวิตามินดีมาใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อขณะเริ่มเข้าสู่ภาวะชราภาพได้อย่างเหมาะสมต่อไป

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง: SDG 3 (Good Health and Well-Being) ผลงานวิจัยเรื่อง Autophagy-lysosomal signaling responses to heat stress in tenotomy-induced rat skeletal muscle atrophy. Life Sci. 2021:119352. ผู้แต่ง Hirunsai M* and Srikuea R สรุปผลงานวิจัยโดย ผศ.ดร.รัชกฤต ศรีเกื้อ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับผลของการได้รับความร้อนต่อการฟื้นฟูสภาวะฝ่อลีบของกล้ามเนื้อผ่านการควบคุมการทำงานของระบบการทำลายออร์แกเนลล์ภายในเซลล์ที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ (autophagy-lysosomal system) ผลของการรักษาด้วยการได้รับความร้อนถูกศึกษาในสภาวะที่กล้ามเนื้อบริเวณขาหลังของหนูทดลองเกิดสภาวะฝ่อลีบจากความเสียหายที่บริเวณเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) เปรียบเทียบผลกับสภาวะที่ไม่ได้รับความร้อนและกลุ่มควบคุมที่ไม่มีสภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ โดยความร้อนที่กล้ามเนื้อได้รับมีอุณหภูมิที่ 40.5-41.5°C ครั้งละ 30 นาที เป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่าการได้รับความร้อนสามารถเร่งการฟื้นฟูสภาพและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อผ่านการลดการกระตุ้นการทำงานที่มากเกินไปของ autophagy-lysosomal system ได้อย่างมีนัยสำคัญในกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หลักในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ดังนั้นการได้รับความร้อนจึงถือเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ในการรักษาสภาวะฝ่อลีบของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานานเนื่องจากการบาดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง: SDG 3 (Good Health and Well-Being) ผลงานวิจัยเรื่อง A single bout of high-intensity exercise modulates the expression of vitamin D receptor and vitamin D-metabolising enzymes in horse skeletal muscle. Equine Vet J. 2021;53(4):796-805 ผู้แต่ง Puangthong C, Sukhong P, Saengnual P, Srikuea R*, and Chanda M*. สรุปผลงานวิจัยโดย ผศ.ดร.รัชกฤต ศรีเกื้อ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: การแสดงออกของตัวรับสัญญาณวิตามินดีและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลึซึมของวิตามินดีได้มีการรายงานว่ามีบทบาทสำคัญในกล้ามเนื้อลาย โดยการวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงต่อระบบการทำงานของวิตามินดีและเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อลายในกล้ามเนื้อม้ารวมถึงความสัมพันธ์กับระดับ 25(OH)D ในเลือด ผลการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อลายและเพิ่มการแสดงออกของตัวรับสัญญาณการทำงานของวิตามินดีเพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลายในม้า รวมถึงส่งผลต่อการลดลงของโปรตีนในกล้ามเนื้อม้าที่มีบทบาทเกี่ยวกับการเปลี่ยนวิตามินดีให้อยู่ในรูปแอคทีฟฟอร์มและระดับ 25(OH)D2 ในเลือด ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบต่อกระบวนการเมแทบอลึซึมของวิตามินดีภายหลังจากการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงในม้า ดังนั้นการให้วิตามินดีเสริมภายหลังการแข่งขันในม้ากีฬาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาระดับวิตามินดีในเลือดที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อลายของม้าภายหลังการบาดเจ็บที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

.....

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Novel Potential Application of Chitosan Oligosaccharide for Attenuation of Renal Cyst Growth in the Treatment of Polycystic Kidney Disease" Chitosan oligosaccharide (COS), a natural polymer derived from chitosan, exerts several biological activities and drug delivery enhancer. COS is vastly distributed to kidney and eliminated in urine, it may have a potential advantage as the therapeutics of kidney diseases. This reveals the effect of COS on renal cyst enlargement and its underlying mechanisms. COS decreased renal cyst growth without cytotoxicity. The effect of COS on renal cyst growth requires a calcium/calmodulin-dependent protein kinase kinase beta (CaMKKβ) and activation of AMPK via CaMKKβ. Therefore, COS may hold the potential for pharmaceutical application in polycystic kidney disease. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. Reference: Nutthapoom Pathomthongtaweechai, Sunhapas Soodvilai, Rath Pichyangkura, Chatchai Muanprasat. Novel Potential Application of Chitosan Oligosaccharide for Attenuation of Renal Cyst Growth in the Treatment of Polycystic Kidney Disease. Molecules. 2020 Nov 27;25(23):5589. doi: 10.3390/molecules25235589.

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Tiliacora triandra (Colebr.) Diels Leaf Aqueous Extract Inhibits Hepatic Glucose Production in HepG2 Cells and Type 2 Diabetic Rats" This study investigated the effects of Tiliacora triandra (Colebr.) Diels aqueous extract (TTE) on hepatic glucose production in hepatocellular carcinoma (HepG2) cells and type 2 diabetic (T2DM) conditions. Results demonstrate that TTE reduced oxidative stress by induced copper-zinc superoxide dismutase, glutathione peroxidase and catalase genes, similarly to epicatechin (EC) and quercetin (QC). TTE decreased hepatic glucose production. Impairment of hepatic gluconeogenesis in T2DM rats was restored after treatments TTE. Collectively, TTE could potentially be developed as a nutraceutical product to prevent glucose overproduction in patients with obesity, insulin resistance, and diabetes who are being treated with antidiabetic drugs. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. Reference: Tipthida Pasachan, Acharaporn Duangjai, Atcharaporn Ontawong, Doungporn Amornlerdpison, Metee Jinakote, Manussabhorn Phatsara, Sunhapas Soodvilai, Chutima Srimaroeng. Tiliacora triandra (Colebr.) Diels Leaf Aqueous Extract Inhibits Hepatic Glucose Production in HepG2 Cells and Type 2 Diabetic Rats. Molecules. 2021 Feb 25;26(5):1239. doi: 10.3390/molecules26051239.

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง “Farnesoid X Receptor Activation Stimulates Organic Cations Transport in Human Renal Proximal Tubular Cells” งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลกระทบของการมีระดับกรดน้ำดีในกระแสเลือดสูงซึ่งพบในสภาวะการอักเสบของตับ ว่ามีผลอย่างไรต่อกระบวนการกำจัดสารพิษร่างกายทางไต โดยมุ่งศึกษาผลต่อการทำงานของตัวขนส่งสารประจุบวก ( cation transporters) ชนิด OCT2 MATE1 และ MATE2K จากผลการวิจัยพบว่ากรดน้ำดีชนิด chenodeoxycholic acid (CDCA) กระตุ้นตัวรับ Farnesoid X receptor (FXR) ส่งผลเพิ่มการสังเคราะห์และการทำงานของตัวขนส่งสารทั้ง 3 ชนิด นำไปสู่การเพิ่มการขับสารประจุบวกออกจากร่างกายได้ กลไกนี้เป็นการตอบสนองของร่างการเพื่อเพิ่มการขับสารออกทางไต ทดแทนการขับสารออกทางตับในกรณีที่ตับไม่สามารถขับสารออกจากร่างกายได้ ผลงานวิจัยสัมพันธ์กับ SDG goals ข้อที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย (เอกสารอ้างอิง Teerasak Wongwan, Varanuj Chatsudthipong, Sunhapas Soodvilai. Farnesoid X Receptor Activation Stimulates Organic Cations Transport in Human Renal Proximal Tubular Cells Int J Mol Sci. 2020 Aug 24;21(17):6078. doi: 10.3390/ijms21176078.)

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Germacrone Reduces Cisplatin-Induced Toxicity of Renal Proximal Tubular Cells via Inhibition of Organic Cation Transporter" Cisplatin is a widely used chemotherapy for solid tumors; however, its benefits are limited by serious nephrotoxicity, particularly in proximal tubular cells. The present study investigated the renoprotective effect and mechanisms of germacrone, a bioactive terpenoid compound found in Curcuma species on cisplatin-induced toxicity of renal cells. Germacrone attenuated apoptosis of human renal proximal tubular cells following treatment with cisplatin. Co-treating human renal proximal tubular cells with cisplatin and germacrone significantly reduced cellular platinum content compared with cisplatin treatment alone. The effect of germacrone on organic cation transporter 2 (OCT2) which is a transporter responsible for cisplatin uptake was determined. Germacrone showed an inhibitory effect on OCT2 function with less effect on OCT1. The germacrone's protective effect on cisplatin-induced cytotoxicity was not observed in cancer cells; cisplatin's anti-cancer activity was preserved. In conclusion, germacrone prevents cisplatin-induced toxicity in renal proximal tubular cells via inhibition OCT2 transport function and reducing cisplatin accumulation. Thus germacrone may be a good candidate agent used for reducing cisplatin-induced nephrotoxicity. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. (Reference: Sirima Soodvilai, Paranee Meetam, Lawan Siangjong, Ratchanaporn Chokchaisiri, Apichart Suksamrarn, Sunhapas Soodvilai. Germacrone Reduces Cisplatin-Induced Toxicity of Renal Proximal Tubular Cells via Inhibition of Organic Cation Transporter. Biol Pharm Bull. 2020;43(11):1693-1698. doi: 10.1248/bpb.b20-00392.)

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Germacrone Reduces Cisplatin-Induced Toxicity of Renal Proximal Tubular Cells via Inhibition of Organic Cation Transporter" Cisplatin is a widely used chemotherapy for solid tumors; however, its benefits are limited by serious nephrotoxicity, particularly in proximal tubular cells. The present study investigated the renoprotective effect and mechanisms of germacrone, a bioactive terpenoid compound found in Curcuma species on cisplatin-induced toxicity of renal cells. Germacrone attenuated apoptosis of human renal proximal tubular cells following treatment with cisplatin. Co-treating human renal proximal tubular cells with cisplatin and germacrone significantly reduced cellular platinum content compared with cisplatin treatment alone. The effect of germacrone on organic cation transporter 2 (OCT2) which is a transporter responsible for cisplatin uptake was determined. Germacrone showed an inhibitory effect on OCT2 function with less effect on OCT1. The germacrone's protective effect on cisplatin-induced cytotoxicity was not observed in cancer cells; cisplatin's anti-cancer activity was preserved. In conclusion, germacrone prevents cisplatin-induced toxicity in renal proximal tubular cells via inhibition OCT2 transport function and reducing cisplatin accumulation. Thus germacrone may be a good candidate agent used for reducing cisplatin-induced nephrotoxicity. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. (Reference: Sirima Soodvilai, Paranee Meetam, Lawan Siangjong, Ratchanaporn Chokchaisiri, Apichart Suksamrarn, Sunhapas Soodvilai. Germacrone Reduces Cisplatin-Induced Toxicity of Renal Proximal Tubular Cells via Inhibition of Organic Cation Transporter. Biol Pharm Bull. 2020;43(11):1693-1698. doi: 10.1248/bpb.b20-00392.)​

5. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Panduratin A Derivative Protects against Cisplatin-Induced Apoptosis of Renal Proximal Tubular Cells and Kidney Injury in Mice" Cisplatin is an effective chemotherapy, its effectiveness is limited due to nephrotoxicity. Development of adjuvant therapies preventing cisplatin nephrotoxicity is required. The present study demonstrates the renoprotective effects of derivatives of panduratin A. Amomg derivative of panduratin A, DD-218, showed greater attenuation of cisplatin-induced toxicity than panduratin A. The cytoprotective effect of DD-218 was mediated via decreases in cisplatin-induced mitochondria dysfunction, intracellular reactive oxygen species (ROS) generation, activation of ERK1/2, and cleaved-caspase 3 and 7. In addition, DD-218 attenuated cisplatin-induced nephrotoxicity by a decrease in renal injury and improved in renal dysfunction in mice. Importantly, DD-218 did not attenuate the anti-cancer efficacy of cisplatin This finding suggests that DD-218, a derivative of panduratin A, holds promise as an adjuvant therapy in patients receiving cisplatin. The results of this study has recently been published in Molecules (2021). Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. (Reference: Thongnuanjan P, Soodvilai S, Fongsupa S, Thipboonchoo N, Chabang N, Munyoo B, Tuchinda P, Soodvilai S. Panduratin A Derivative Protects against Cisplatin-Induced Apoptosis of Renal Proximal Tubular Cells and Kidney Injury in Mice. Molecules. 2021 Nov 2;26(21):6642. doi: 10.3390/molecules26216642.)

6. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Regulation of adipocyte differentiation and metabolism by lansoprazole" Lansoprazole (LPZ) is one of the most commonly prescribed drugs for treatment of acid-related diseases, and it is increasingly recognized for its potential application as an anti-diabetic therapy. In this study, we assessed effects of LPZ on adipocyte differentiation and function by using 3T3-L1 preadipocytes and HFD-induced obesity mice as an in vitro and in vivo model, respectively. LPZ has dual effects on differentiation of 3T3-L1 cells. At low concentrations, LPZ enhanced adipocyte differentiation via induction of PPARγ and C/EBPα, two master adipogenic transcription factors, as well as lipogenic proteins, ACC1 and FASN. Increasing of adipocyte number subsequently increased basal and insulin-stimulated glucose uptake, and expression of Glut4 mRNA. Inhibition of adipogenesis by LPZ reduced mature adipocyte number, Glut4 mRNA expression and insulin-stimulated glucose uptake. In addition, treatment with LPZ significantly reduced body weight gain and total fat mass in HFD-induced obese mice. Significance: These results indicate that effects of LPZ on adipocyte differentiation are dependent on concentration and are correlated with PPARγ and C/EBPα. Associated SCG goals no. 3 is ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. (Reference: Ameena Benchamana, Hiroyuki Mori, Ormond A MacDougald, Sunhapas Soodvilai. Regulation of adipocyte differentiation and metabolism by lansoprazole. Life Sci. 2019 Dec 15;239:116897. doi: 10.1016/j.lfs.2019.116897.)

7. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "High affinity of 4-(4-(dimethylamino)styryl)-N-methylpyridinium transport for assessing organic cation drugs in hepatocellular carcinoma cells" Human organic cation transporter 1 (hOCT1) and human organic cation transporter 3 (hOCT3) are highly expressed in hepatocytes and play important roles in cationic drug absorption, distribution, and elimination. This study clarified the significant roles of hOCTs in HepG2 cells. The cells expressed hOCT1 and hOCT3 corresponding to transport function. The results reveal that hOCT1 and hOCT3 expressed in HepG2 cells exhibit notable impacts on cationic drug actions. HepG2 cells could be a rapid and powerful platform for r screening of cationic drug actions and interactions with hOCTs. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. Reference: Metee Jinakote, Atcharaporn Ontawong, Sunhapas Soodvilai, Jeerawat Pimta, Tipthida Pasachan, Varanuj Chatsudthipong, Chutima Srimaroeng. High affinity of 4-(4-(dimethylamino)styryl)-N-methylpyridinium transport for assessing organic cation drugs in hepatocellular carcinoma cells. Fundam Clin Pharmacol. 2020 Jun;34(3):365-379. doi: 10.1111/fcp.12531.

8. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Soluble (pro)renin receptor regulation of ENaC involved in aldosterone signaling in cultured collecting duct cells" Activation of (pro)renin receptor (PRR) induces epithelial Na+ channel (ENaC) activity in cultured renal collecting duct cells. The present study demonstrates the role of soluble form of PRR (sPRR) in ENaC regulation. In cultured renal collecting duct cells, sPRR (sPRR-His) induced a significant and transient increase in the ENaC-mediated Na+ transport. The ENaC activation was blocked by inhibition of NADPH oxidase 1/4 Nox4. sPRR-His induced protein expression of the α-subunit but not β- or γ-subunits of ENaC, in parallel with upregulation of mRNA expression as well as promoter activity of the α-subunit. In addition, the effect of aldosterone-induced Na+ transport was associated with sPRR generation. Taken together, these results demonstrate that sPRR induces two phases of ENaC activation and functions as a mediator of the action of aldosterone in regulation of body fluid. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. Reference: Fei Wang, Renfei Luo, Kexin Peng, Xiyang Liu, Chuanming Xu, Xiaohan Lu, Sunhapas Soodvilai, Tianxin Yang. Soluble (pro)renin receptor regulation of ENaC involved in aldosterone signaling in cultured collecting duct cells. Am J Physiol Renal Physiol. 2020 Mar 1;318(3):F817-F825. doi: 10.1152/ajprenal.00436.2019.

9. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Soluble (pro)renin receptor regulation of ENaC involved in aldosterone signaling in cultured collecting duct cells" Activation of (pro)renin receptor (PRR) induces epithelial Na+ channel (ENaC) activity in cultured renal collecting duct cells. The present study demonstrates the role of soluble form of PRR (sPRR) in ENaC regulation. In cultured renal collecting duct cells, sPRR (sPRR-His) induced a significant and transient increase in the ENaC-mediated Na+ transport. The ENaC activation was blocked by inhibition of NADPH oxidase 1/4 Nox4. sPRR-His induced protein expression of the α-subunit but not β- or γ-subunits of ENaC, in parallel with upregulation of mRNA expression as well as promoter activity of the α-subunit. In addition, the effect of aldosterone-induced Na+ transport was associated with sPRR generation. Taken together, these results demonstrate that sPRR induces two phases of ENaC activation and functions as a mediator of the action of aldosterone in regulation of body fluid. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. Reference: Fei Wang, Renfei Luo, Kexin Peng, Xiyang Liu, Chuanming Xu, Xiaohan Lu, Sunhapas Soodvilai, Tianxin Yang. Soluble (pro)renin receptor regulation of ENaC involved in aldosterone signaling in cultured collecting duct cells. Am J Physiol Renal Physiol. 2020 Mar 1;318(3):F817-F825. doi: 10.1152/ajprenal.00436.2019.

10. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง "Effects of silymarin-loaded amphiphilic chitosan polymeric micelles on the renal toxicity and anticancer activity of cisplatin" This research explores the effects of silymarin (SM)-loaded polymeric micelles (PMs) on the renal toxicity and anticancer activity of cisplatin. Amphiphilic chitosan derivatives were employed to develop SM-loaded PMs. The SM-loaded PMs had small particle sizes (326-336 nm), negative surface charge, high entrapment efficiency (47-70%), and demonstrated pH-sensitive release. SM (50-100 μg/mL)-loaded PMs increased the cytotoxic efficacy of cisplatin on the cancer cells. Interestingly, SM-loaded benzyl-functionalized succinyl chitosan (BSC) PMs showed the cytoprotective effect of cisplatin in renal cells compared to SM. In conclusion, SM-loaded BSC PMs could enhance the therapeutic effect, and protect renal damage during the treatment with cisplatin. Associated SDG goals is Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. (Reference: Sirima Soodvilai, Wajee Tipparos, Worranan Rangsimawong, Prasopchai Patrojanasophon, Sunhapas Soodvilai, Warayuth Sajomsang, Praneet Opanasopit. Effects of silymarin-loaded amphiphilic chitosan polymeric micelles on the renal toxicity and anticancer activity of cisplatin. Pharm Dev Technol. 2019 Oct;24(8):927-934. doi: 10.1080/10837450.2018.1556690.)

11. Modified cycloartanes with improved inhibitory effect on SGLT-mediated glucose uptake in human renal proximal tubular cells ตัวขนส่งกลูโคสชนิด sodium glucose cotransporter 2 (SGLT2) ที่พบในเซลล์หลอดไตส่วนต้น มีความสำคัญในการดูดกลับกลูโคสที่ผ่านการกรองที่โกลเมอรูลัสกลับเข้าสู่เลือด การลดการทำงานของ SGLT2 มีผลลดการดูดกลับกลูโคสและเพิ่มการกำจัดกลูโคสออกจากร่างกาย งานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ schisandronic acid ซึ่งเป็นสารกลุ่ม cycloartane จากพืช Gardenia collinsae Craib ต่อการทำงานของ SGLT2 สาร schisandronic acid ลดการทำงานของ SGLT2 ในการขนส่งกลูโคสเข้าสู่หลอดไตส่วนต้นของมนุษย์ การปรับโครงสร้างของ schisandronic acid เพิ่ม potency ในการยับยั้งการทำงานของ SGLT2 ผลงานวิจัยสัมพันธ์กับ SDG goals ข้อที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ผลที่ได้รับและการนำไปใช้ประโยชน์ : การยับยั้งการทำงานด้วยตัวยับยั้ง (inhibitor) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน โดยยาที่มีใช้ในปัจจุบันเป็นสารอนุพันธ์ของสาร phlorizin เท่านั้น ดังนั้นการค้นพบสารกลุ่ม cycloartane ได้แก่ schisandronic acid และสารอนุพันธ์อาจเป็นสารต้นแบบที่ใช้พัฒนาเป็น SGLT2 inhibitors สำหรับการรักษาโรคเบาหวานโดยการกระตุ้นการขับกลูโคสออกจากร่างกาย

12. Pinostrobin attenuates colistin-induced apoptosis of human renal proximal tubular cells สรุปโดยสังเขปว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับ : ยาโคลิสติน (colistin) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีประสิทธิภาพ เพราะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาหลายชนิด การใช้ยาดังกล่าวเกิดอาการไม่พึงประสงค์บ่อยและรุณแรงได้แก่ ความเป็นพิษต่อไต งานวิจัยนี้รายงานผลของสารไพโนสโทรบิน (pinostrobin) ซึ่งเป็นสารที่แยกได้จากกระชายต่อการลดความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของยาโคลิสติน จากการศึกษาพบว่าสารไพโนสโทรบินมีฤทธิ์ลดการตายแบบ apoptosis ของเซลล์หลอดไตส่วนต้นที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยยาโคลิสติน สารไพโนสโทรบินยับยั้งการเพิ่มระดับ ROS และการทำลายไมโทคลอนเดรีย และสารไพโนสโทรบินเพิ่มระดับ BCL-2 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ต้านการตายแบบ apoptosis ผลที่ได้รับและการนำไปใช้ประโยชน์ : งานวิจัยนี้ได้ค้นพบสารไพโนสโทรบินที่มีฤทธิ์ป้องกันการตายของเซลล์ไตเมื่อได้รับยาโคลิสติน ดังนั้นสารไพโนสโทรบินอาจมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาเพื่อลดความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ยาโคลิสติน อย่างไรก็ตามผลของสารไพโนสโทรบินควรได้รับการทดสอบใน in vivo เพื่อใช้ประเมินศักยภาพของสารไพโนสโทรบินในการรักษาความเป็นพิษต่อไต ผลงานวิจัยสัมพันธ์กับ SDG goals ข้อที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย