Prof. Dr. Vitoon Saengsirisuwan​

E-mail: vitoon.sae@mahidol.ac.th, (66)-2201-5504

Education

Research Interests

Scholarship and Award

- Distinction in Scholarship in the American Journal of Physiology – Regulatory, Integrative and Comparative Physiology for the article “Sex differences in the metabolic dysfunction and insulin resistance of skeletal muscle glucose transport following high fructose ingestion” APSselect January 2017.

- Distinction in Scholarship in the American Journal of Physiology – Endocrinology and Metabolism for the article “Hepatic FGF21 mediates gender differences in high-fat high-fructose diet induced fatty liver” APSselect August 2017.

.....​

1. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การค้นหาวิธีที่ใช้ทดสอบการประมวลความคิดขณะเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาเรื่องการคิดเลข สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Pumpho A, Chaikeeree N, Saengsirisuwan V, Boonsinsukh R. Selection of the Better Dual-Timed Up and Go Cognitive Task to Be Used in Patients With Stroke Characterized by Subtraction Operation Difficulties. Frontiers in Neurology 2020. doi: 10.3389/fneur.2020.00262. การควบคุมรยางค์ให้ทำงานประสานกันมีความสำคัญต่อการเดิน นอกจากนี้ร่างกายยังต้องสามารถควบคุมการทรงตัวขณะเดินในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การเดินข้ามสิ่งกีดขวาง สภาพพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ การปรับเปลี่ยนความเร็วในการเดิน การประมวลความคิดขณะเดิน การพูดคุยกับเพื่อนที่ร่วมเดินไปด้วยกัน ดังนั้นการตรวจประเมินความสามารถในการเดินควรครอบคลุมสถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันขณะเดินเพื่อค้นหาปัญหาและทำการฟื้นฟูให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความบกพร่องในการประมวลความคิดขณะเดิน ในทางคลินิกการทดสอบความสามารถด้านนี้จะกระทำโดยให้ผู้ถูกทดสอบทำการลบเลขถอยหลังทีละ 3 แต่วิธีทดสอบนี้ไม่สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาเรื่องการคิดเลขได้ ดังนั้นการศึกษานี้ได้ทำการทดสอบเพื่อคิดค้นวิธีการที่ใช้การประมวลความคิดให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะเดิน พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการคิดเลข การทดสอบความสามารถในการประมวลความคิดโดยให้ผู้ป่วยคิดคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยคำต่าง ๆ ที่กำหนดให้ เช่น “ก” เป็นวิธีการทดสอบที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้ป่วย มีความแม่นยำ สามารถใช้ทดแทนวิธีการลบเลขถอยหลังทีละ 3 ที่ใช้ทดสอบความสามารถในการประมวลความคิดขณะเดินของผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่สามารถคิดเลขได้

2. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : การยืนบนแผ่นโฟมเพื่อคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการล้ม สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Boonsinsukh R, Khumnonchai B, Saengsirisuwan V, Chaikeeree N. The effect of the type of foam pad used in the modified Clinical Test of Sensory Interaction and Balance (mCTSIB) on the accuracy in identifying older adults with fall history. Hong Kong Physiotherapy Journal 2020. doi: 10.1142/S1013702520500134. ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการล้มสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น การทดสอบความสามารถในการทรงตัวเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงในการระบุผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการล้ม การทดสอบทำได้โดยให้ผู้สูงอายุยืนบนพื้นราบและบนพื้นโฟมร่วมกับการลืมตาหรือหลับตา และสังเกตว่าผู้สูงอายุสามารถยืนได้นานและมั่นคงหรือไม่ งานวิจัยนี้ศึกษาประเภทของโฟมที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการทรงตัวว่ามีความแม่นยำในการระบุผู้สูงอายุที่มีประวัติล้มหรือไม่ และเพื่อค้นหาคะแนนที่ใช้ในการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการล้ม โดยเปรียบเทียบประเภทของโฟมที่จำหน่ายในท้องตลาด 2 ชนิด คือ Neurocom โฟม และ Eric โฟม ผลการศึกษาพบว่า โฟมทั้ง 2 ประเภทมีความแม่นยำสูงในการระบุผู้สูงอายุที่มีประวัติการล้ม และประเภทของการตรวจที่มีความแม่นยำในการระบุผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มคือการยืนบนโฟม (หลับตา 120 วินาที และลืมตา 120 วินาที) มากกว่าการทดสอบการยืนบนพื้นราบ ในการตรวจประเมิน ให้ผู้ตรวจจับเวลาที่ผู้สูงอายุสามารถยืนบนโฟมทั้งขณะลืมตาและหลับตา จากนั้นนำเวลาที่จดไว้มารวมกัน ผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มคือกลุ่มที่ยืนบนโฟมได้น้อยกว่า 223 วินาที

3. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : 20-Hydroxyecdysone ameliorates metabolic and cardiovascular dysfunction in high-fat high-fructose-fed ovariectomized rats สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Buniam J, Chukijrungroat N, Rattanavichit Y, Surapongchai J, Weerachayaphorn J, Bupha-Intr T, Saengsirisuwan V. BMC Complement Med Ther. 2020 May 6;20(1):140. doi: 10.1186/s12906-020-02936-1. บทสรุปผลงานวิจัย : Cardiometabolic syndrome (CMS) is a clustering of multifaceted conditions characterized by several cardiovascular and metabolic risk factors, including dyslipidemia, hypertension, central obesity, compensatory hyperinsulinemia, and glucose intolerance. It has been reported that prolonged use of clinical drugs prescribed to CMS patients may induce adverse effects such as pulmonary edema, hepatic steatosis, and congestive heart failure. Thus, the development of CMS medication should preferably be shifted toward natural sources without side effects. Notably, ecdysteroids are known as invertebrate steroid hormones which can also be found in many plant species. Since 20-hydroxyecdysone (20E), the major biologically active ecdysteroid found in invertebrates and plants, exhibited the wound-healing, immunoprotective and anti-osteoporosis effects, the present study examined whether 20E would attenuate CMS in a rat model induced by a high-calorie diet combined with female sex hormone deprivation. Ovariectomized rats fed a high-fat-high-fructose diet (OHFFD) were intragastrically administered with 20E for 8 weeks. We found that 20E treatment resulted in (1) a reduction in body weight and central adiposity without changes in total caloric intake and fat free mass; (2) a lower level of low-density lipoprotein (LDL)-cholesterol with normal blood pressure; (3) an improvement in whole body glucose homeostasis with a significantly increased expression of pAkt Ser473, pFOXO1 Ser256, pAMPK Thr172, and FGF21 in the liver tissue. Taken together, we reported that 20E treatment attenuates several manifestations of CMS. 20E improves whole body insulin sensitivity in OHFFD rats, and the mechanisms that underlie this favorable effect are potentially mediated by the inhibition of gluconeogenic proteins in the liver. The present study indicates that 20E could be an alternative therapeutic option for the prevention of CMS.

4. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Hydration Status, Fluid Intake, Sweat Rate, and Sweat Sodium Concentration in Recreational Tropical Native Runners สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Surapongchai J, Saengsirisuwan V, Rollo I, Randell RK, Nithitsuttibuta K, Sainiyom P, Leow CHW, Lee JKW. Nutrients. 2021 Apr 20;13(4):1374. doi: 10.3390/nu13041374. บทสรุปผลงานวิจัย : Sweat evaporation is important for the dissipation of metabolic heat production, which may increase ten- to twenty-fold during exercise. Sweat loss during exercise can result in rapid rises of core body temperature, hypohydration, electrolyte imbalance, increased physiological strain and perception of effort. Tropical natives are likely to be more heat-acclimatized than athletes who live in temperate or cool environments. Nevertheless, there are limited data on sweat rate and sweat composition of tropical native athletes, which may impact on hydration strategies during and after exercise in this population. Knowledge of sweat responses and sweat composition of tropical native athletes will allow us to understand if consensus recommendations on hydration are also relevant to heat-acclimatized athletes. Therefore, the present study evaluated the hydration status, fluid intake, sweat rate, and sweat sodium concentration in recreational tropical native runners during which they ran at their self-selected pace for 30–100 min. Age, environmental conditions, running profiles, sweat rates, and sweat sodium data were recorded. Differences in age, running duration, distance and pace, and physiological changes between sexes were analyzed. We found that males had lower relative fluid intake and greater relative fluid balance deficit than females. Males had higher whole-body sweat rates than females. Mean rates of sweat sodium loss were higher in males than females. Collectively, as we demonstrated that the sweat profile and composition in tropical native runners are similar to reported values in the literature, the current fluid replacement guidelines pertaining to volume and electrolyte replacement are applicable to tropical native runners.

5. UN SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG 3 (Good Health and Well-Being) สรุปผลงานวิจัยเรื่อง : Classification of limb and mobility impairments in persons with stroke using the STREAM สรุปโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ สังกัด : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเผยแพร่ : Winairuk T, Chaikeeree N, Sirisup S, Saengsirisuwan V, Boonsinsukh R. Journal of Neurologic Physical Therapy. 2022 Apr 1;46(2):96-102. doi: 10.1097/NPT.0000000000000384. บทสรุปผลงานวิจัย : การจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสำคัญในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย แต่แบบประเมิน STREAM ซึ่งใช้ประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองยังไม่มีข้อมูลเพื่อการจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว การศึกษานี้จึงมุ่งที่จะจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบุระดับความยากของหัวข้อประเมินในแบบประเมิน STREAM โดยใช้ Rasch analysis ในการวิเคราะห์คะแนนประเมินที่ได้รับจากแบบประเมิน STREAM ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 240 คนได้รับการตรวจประเมินด้วยแบบประเมิน STREAM แบบประเมิน Fugl Meyer Stroke assessment (FM) และแบบประเมิน Functional Ambulation Scale (FAC) วิเคราะห์ค่า concurrent validity ระหว่างระดับคะแนน STREAM ของแขนและขา (STREAM-E) กับระดับคะแนน FM และระหว่างระดับคะแนน STREAM ของการทำกิจกรรม (STREAM-M) กับระดับคะแนน FAC ด้วย Spearman Rank-order Correlation ผลการศึกษาพบว่า ค่า person reliability ของ STREAM-E และ STREAM-M คือ 0.92 และ 0.80 ตามลำดับ ส่วนค่า item reliability เท่ากับ STREAM-E (0.97) และ STREAM-M (0.99) หัวข้อประเมินการงอเข่าและงอสะโพกในท่านอนหงาย และหัวข้อประเมินการพลิกตะแคงตัว เป็นหัวข้อที่ง่ายที่สุด ในขณะที่หัวข้อประเมินการกระดกข้อเท้าพร้อมเหยียดเข่า เป็นหัวข้อที่ยากที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยพบว่าระดับคะแนน STREAM-E มีความสัมพันธ์ในระดับที่สูงกับ (0.83) ระดับคะแนน FM ในการจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวของแขนและขา เป็น 5 ระดับ (เล็กน้อย ปานกลาง ปานกลางกึ่งรุนแรง รุนแรง และรุนแรงมาก) ส่วนระดับคะแนน STREAM-M มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับ (0.71) ระดับคะแนน FAC ในการจำแนกระดับความรุนแรงของความบกพร่องด้านการทำกิจกรรมเป็น 3 ระดับ (เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง) ดังนั้นการศึกษานี้พบว่าแบบประเมิน STREAM สามารถนำไปใช้ในการตรวจประเมินและวางแผนการรักษาเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง